ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น พร้อมรองรับตลาดสมุนไพรในอนาคต ย้ำบริการแบบ “ ส่งยาก ส่งเย็น ส่งใหญ่ ส่งเยอะ”

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดงานเสวนา “ก้าวทัน … โลจิสติกส์ผลักดันสมุนไพรไทย ไปสู่ตลาดโลก” เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี THPD และ 20 ปี Logistic Engineering UTCC

ดร.พีระ อุดมกิจสกุลกก.ผจก บริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น จำกัดกล่าวว่าการจัดเก็บและการขนส่งของ ยาหรือสมุนไพร เราก็ใช้มาตรฐานสากลเดียวกัน เป็นตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในระบบการจัดเก็บและจัดส่งยา (GSP/GDP)ทั้งแยกคลังจัดเก็บ และแยกรถขนส่งที่จะให้บริการเป็นการเฉพาะ หากในอนาคตตลาดสมุนไพร มีผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ทางไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่นก็มีความพร้อมที่รองรับ เพราะเรามีพันธมิตรที่ดีในการขนส่ง อีกทั้งปัจจุบัน เราให้บริการ “ ส่งยาก ส่งเย็น ส่งใหญ่ ส่งเยอะ”

ด้านนายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ในต่างประเทศ อยากให้ดูโมเดล เรดบูล หรือ กระทิงแดง ที่บุกตลาดต่างประเทศฝ่าด่านต่างๆจนก้าวไปสู่แบรนด์ระดับโลก (Global Brand)ไปแล้วทั้งนี้ ควรจะเริ่มจาก การพัฒนา ผู้ปลูก ผู้ผลิต ต้องมีการวางแผนพื้นที่ในการปลูกรวมถึงแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นสมุนไพร หรือออแกนนิก และเริ่มจากพัฒนาตลาดในประเทศให้เกิดประโยชน์ก่อน

ภก.สัญชัย จันทร์โต เภสัชกรชำนาญการพิเศษผู้ช่วยผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กัญชา จะต้องเริ่มจากมีบัตรอนุญาตในการผลิต ณ ขณะนี้มีเพียง 48 ราย และ ควรจะต้องเป้าหมายชัดเจนว่าส่งขายในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งในหลายประเทศ ยังห้ามนำเข้า ดังนั้นจะต้องศึกษากฎหมายของต่างประเทศให้ดี และจากข้อมูลพบว่ามีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะจากประเทศจีน

ขณะที่นายแพทย์กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าจากการคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2018 มูลค่ากัญชา เพิ่มขึ้น 24 % โดยเฉพาะโอกาสในต่างประเทศ แต่อยากให้พิจารณาเลือกอุตสาหกรรมก่อนการลงทุน และศึกษาข้อกฎหมาย เงื่อนไขในแต่ละประเภท

ด้านนายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข กล่าว ในต่างประเทศ อยากให้ดูโมเดล เรดบูล หรือ กระทิงแดง ที่บุกตลาดต่างประเทศฝ่าด่านต่างๆจนก้าวไปสู่แบรนด์ระดับโลก (Global Brand)ไปแล้ว

คุณ ธวัช จรุงพิธวงศ์ ประธานวิสาหกิจชุมชน Thai Herb Center กล่าวว่าในฐานะผู้มีประสบการณ์ เห็นว่าคนไทยยังไม่เปิดใจกับเรื่องกัญชา ดังนั้น หากจะส่งออกผลิตภัณฑ์กัญชา ต้องมองภาพให้ชัดศึกษาตั้งแต่ต้นน้ำให้ดี เพราะมาตรฐานแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน และมองว่าควรปลูกนำมาสกัดเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง ชึมเศร้า เพื่อให้ชาวต่างประเทศให้เห็นผล แล้วดึงกันมาใช้บริการต่อไป