โรงงานไฟฟ้าติดสมองเพื่ออนาคตพลังงาน (2)

ในบทความที่แล้วจะเห็นว่าจีอีบริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านพลังงานของโลกได้ให้บริษัทนิวโค ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และจักรกลเรียนรู้ บริการด้าน การเสริมสร้างประสิทธิภาพโรงงานของทุกโรงไฟฟ้าทั่วโลก

การใช้ เอไอ หรือปัญญาประดิษฐ์เพื่อภาคอุตสาหกรรมเป็นที่นิยมมากเพราะระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถจดจำและเรียนรู้รูปแบบการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกันวิธีการคือสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆโดยอัตโนมัติเพื่อการตอบสนองต่อการทำงานของเครื่องจักรกลชนิดต่างๆไม่ใช่เฉพาะในโรงงานอุตสากรรมแต่ปัญญา ประดิษฐ์ได้มีการใช้อย่างต่อเนื่องในทุกภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะภาคบริการการเงินหรือธนาคารเป็นที่นิยมมากโดยสามารถ ทำงานตามขั้นตอนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนการทำงานของคนได้

ในภาคอุตสาหกรรมพลังงานที่ทางจีอีต้องการนั้นยังมีการพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับกังหันลมได้มีการพัฒนาให้สามารถเรียนรู้ และจดจำรูปแบบของสภาวะอากาศได้และสามารถที่จะสร้างระบบการบำรุงรักษาแบบอัตโนมัติตามวันเวลาที่เครื่องจักรใช้งาน โดยไม่มีผู้ปฏิบัติงานหรือช่างเกี่ยวข้องทั้งนี้ทำให้เครื่องจักรกังหันลมสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้น อยู่หน้าออกจากนี้บริษัทมิวโคยังได้พัฒนารูปแบบของการพยากรณ์ความต้องการพลังงานเพื่อให้นายช่างประจำการตัดสินใจได้ว่าจะเผาผลาญ ถ่านหินอย่างไรและเมื่อไหร่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีบริษัทเกิดใหม่ให้บริการด้านปัญญาประดิษฐ์โดยมีการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อหา. เหมาะสมและสมดุลย์เพื่อบริการควบคุมเครื่องจักรกลตามโรงงานต่างๆตามโรงพยาบาล และโรงงานผลิตไฟฟ้าบริษัทก่อตั้งโดยนายปาเวล โรมาชกิน ซึ่งอายุ 29 ปีเท่านั้นบริษัทนี้ตั้งอยู่ที่ลอสแองเจลีสประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเสนอลูกค้าในหลายแห่งด้วยกันเพื่อนำเสนอให้มีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดและสามารถตอบสนองต่อสภาวะการณ์ต่างๆได้ เขากล่าวว่า”มนุษย์รู้จักและเข้าใจว่าเมื่อถึงเทศกาลปีใหม่เราจะต้องใช้พลังงานที่สูงขึ้นมากแต่ปัญญาประดิษฐ์ ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งแต่มันได้เห็นรูปแบบและพฤติกรรมของการใช้ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อเราติดสสมองให้กับโรงงานเหล่านี้ เราก็สามารถที่จะใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ปรับปรุงพัฒนาและควบคุมเครื่องจักรตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของการผลิตได้”

บริษัท Google ได้รายงานในปีที่แล้วว่าการใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบบทำความเย็นทำให้บริษัทสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 15% ด้วยการมีศูนย์ข้อมูลกลาง ที่สามารถนำมาประมวลผลและพัฒนาให้มีการเรียนรู้จากข้อมูลเหล่านั้น
รองศาสตราจารย์ ดร. บุญมาก ศิริเนาวกุล
boonmarksirinaovakul@gmail.com