ดีเดย์! 14 ก.ย.นี้ ‘สุริยะ’ รมต.คมนาคมป้ายแดง พ่วง 2 รมช.ใหม่ เตรียมมอบนโยบาย 21 หน่วยงานในสังกัดฯ ดันไทยสู่ฮับโลจิสติกส์ภูมิภาค

สุริยะรมต.คมนาคมป้ายแดง พร้อม 2 รมช.ใหม่ เตรียมมอบนโยบาย 21 หน่วยงานในสังกัดฯ ดีเดย์ 14 ..นี้คาดลุยแบ่งงาน พร้อมเดินหน้าภารกิจบกน้ำรางอากาศดันไทยก้าวสู่ฮับโลจิสติกส์ในภูมิภาค

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในวันที่ 14 .. 2566 เวลา 9.00 . นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนางมนพร เจริญศรี และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเตรียมมอบนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมและรับฟังภารกิจของหน่วยงานในสังกัดฯ รวม 21 หน่วยงาน หน่วยงานละ 5 นาที แบ่งเป็น ส่วนราชการ 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), กรมการขนส่งทางบก, กรมทางหลวง (ทล.), กรมทางหลวงชนบท (ทช.), กรมการขนส่งทางราง (ขร.), กรมเจ้าท่า (จท.) และกรมท่าอากาศยาน (ทย.)


นอกจากนี้
หน่วยงานของรัฐ 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และรัฐวิสาหกิจ 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), บริษัท ขนส่ง จากัด (บขส.), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), บริษัท รถไฟฟ้า ... จากัด (รฟฟท.), บริษัท ไทยอะมาดิอุสเซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด (อทส.)

อีกทั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร., การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.), บริษัท ท่าอากาศยานไทย จากัด (มหาชน) หรือ ทอท., บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.), สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) และบริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด (รทส.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 .. 2566 ที่ผ่านมา นายสุริยะ พร้อมด้วยนางมนพร และนายสุรพงษ์ ได้เข้ากระทรวงคมนาคมเป็นวันแรก เพื่อพบปะกับผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคม โดยได้แนะนำตัวทำความรู้จักกัน และรอการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้ (11 .. 2566) ให้เสร็จสิ้นก่อนก่อนประชุมมอบนโยบายต่อไป

ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อเร่งรัดผลักดันการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในทุกมิติ ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาค

อีกทั้ง ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมสานต่อโครงการให้เกิดความเชื่อมโยงด้านการขนส่งระหว่างทางน้ำกับทางราง ส่งเสริมการลดต้นทุนโลจิสติกส์เป็นนโยบายหลักๆ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีต้นทุนการขนส่งสินค้าที่สูงกว่าประเทศอื่นเป็นอย่างมาก