คนไทยได้อะไรจากรถไฟความเร็วสูง?

ประเทศที่ร่ำรวยเกือบทุกประเทศในโลก ต่างมีรถไฟความเร็วสูงเพื่อใช้ในการเดินทางระยะไกลกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สเปน ฟินแลนด์ ออสเตรีย หรือในประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชียของเรา เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และ จีน

สำหรับประเทศไทย ล่าสุดเริ่มมีความชัดเจนอย่างเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นทุกที คาดว่าคงอีกไม่นานเกินรอสำหรับความพยายามของประเทศไทยที่จะยกระดับการคมนาคมขนส่งที่ก้าวหน้าไปอีกขั้น เพื่อรองรับกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

ประเด็นที่เกิดป็นคำถามตามมาว่า นอกจากผลประโยชน์ในภาพกว้างทางเศรษฐกิจ ในฐานะของประชาชนคนไทยจะได้รับผลพลอยได้อะไรจากโครงการนี้บ้างไปดูกัน

1.ความสะดวกรวดเร็ว ย่นระยะเวลาในการเดินทาง รถไฟความเร็วสูง จะเข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทาง เพิ่มเติมจากการเดินทางด้วยรถยนต์หรือการคมนาคมขนส่งทางถนน และทางอากาศ และเนื่องจากรถไฟเป็นระบบการขนส่งแบบรางความปลอดภัยย่อมสูงกว่าทางถนน

2.ส่งเสริมการท่องเที่ยว รถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นหลายสาย อาทิ สายกรุงเทพ-ระยอง จะช่วยให้การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพ ชลบุรี และระยอง สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เป็นการส่งเสริมเรื่องของการท่องเที่ยวอีกทาง เนื่องจากพื้นที่ที่เชื่อมต่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของไทยอยู่แล้ว ก็ถือว่ายิ่งเป็นการส่งเสริมทำให้นักเที่ยวท่อง มีทางเลือกในการเดินทางไปยังจุดหมายได้มากขึ้น

3. มีการกระจายความเจริญไปสู่นอกเมือง เมื่อความเจริญขยายตัวไปสู่เมืองใหญ่ ๆ เป็นวงกว้างมากขึ้น การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นด้วย

4.เกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ ราคาที่ดินสูงขึ้น การขยายตัวของเมือง ก่อให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนในพื้นที่ก็จะมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้นและเมื่อความเจริญของเมืองเติบโต ราคาที่ดินโดยรวมในพื้นที่ ก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง

และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ จากการสำรวจพบว่าในหลายประเทศที่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงให้บริการ ทุกโครงการจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีควบคู่ไปด้วยเสมอ เช่น สถานีรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น หรือแถบอเมริกา อย่างประเทศแคนนาดา ลูกค้าเป้าหมายของรถไฟฟ้าเป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่รอบสถานีเป็นกลุ่มหลัก และต้องการให้ประชาชนที่อยู่อาศัยรอบสถานีมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านนวัตกรรมที่อยู่อาศัย และในด้านการสัญจร เช่น ทางเดิน ทางขับขี่จักรยาน เป็นต้น