‘คมนาคม’ ร่วมวงประชุม ‘รมต.ขนส่งเอเปค’ ครั้งที่ 11 @อเมริกา เร่งเครื่องลุยแผนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

คมนาคมเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค ครั้งที่ 11 @สหรัฐอเมริกา เช็คสถานะ กทท. หนุนเชื่อมโยงอำนวยความสะดวกขนส่งสินค้าอันตรายในภูมิภาคเอเปค พร้อมลุยแผนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก วางเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้ 30% ภายในปี 73

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15-17 .. 2566 ที่ผ่านมา ตนได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งเอเปค ครั้งที่ 11 (The 11th Asia-Pacific Economic Cooperation Transportation Ministerial Meeting: The 11th APEC TMM) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อการสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน” (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าว เน้นย้ำความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์ปุตราจายา .. 2040 (.. 2583) แผนปฏิบัติการAotearoa และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (the Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy) และแสวงหาชุมชนเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และสงบสุขภายในปี .. 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและคนรุ่นหลัง  โดยที่ประชุมได้แบ่งปันข้อมูลเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานะโครงการ “Promoting Safety for Dangerous Goods Transportation in APEC Region” ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงและการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอันตรายในภูมิภาคเอเปคให้มีประสิทธิภาพ สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยในการกำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 25% จากการดำเนินกิจกรรมตามปกติ เป็น 40% ภายในปี 2573 ในส่วนภาคการขนส่งคิดเป็น 14%

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก สาขาคมนาคมขนส่งเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยในภาคการเดินเรือได้มีการจัดทำโครงการท่าเรือสีเขียว ประกอบด้วย การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์เครื่องจักรภายในท่าเรือ เช่น เครนไฟฟ้า แคร่ไฟฟ้า หุ่นยนต์อัตโนมัติ การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกซึ่งไทยยินดีให้ความร่วมมือ และแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศแก่สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคต่อไป

นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ ความมุ่งมั่นของไทยในการสนับสนุนกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ร่วมกับการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ซึ่งจะช่วยประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน การดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการขยะนั้น

โดยไทยได้แบ่งปันแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศตามนโยบาย 30@30 ซึ่งตั้งเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้ 30% ภายในปี 2573 ควบคู่ไปกับมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง ครอบคลุมถึงการพัฒนารถไฟพลังงานไฟฟ้า รถไฟทางคู่ โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 5.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี 2573

ด้านนาย Pete Buttigieg รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริกา กล่าวในการเปิดงานกิจกรรม “APEC Green Maritime Collaboration Launch”  เมื่อวันที่ 15 .. 2566 ท่าเรือดีทรอยต์ว่า ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเดินเรือเพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายนำแนวปฏิบัติและเทคโนโลยีการเดินเรือรูปแบบใหม่มาใช้โดยการสำรวจการใช้งานจริงของเทคโนโลยีการเดินเรือใหม่ๆ เชื้อเพลิงทางเลือก พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนระบุอุปสรรค โอกาส และนโยบายที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ประกอบการท่าเรือ