เช็คสถานะ! 3 สัญญายังไม่ลงนาม ไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 พร้อมเดินเครื่องเต็มสูบ หวั่นโครงการฯ ล่าช้า

การรถไฟฯอัปเดต 3 สัญญายังไม่ลงนามฯ โปรเจกต์ไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 จ่อชงบอร์ดฯ เคาะลงนามสัญญาจ้างกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV” ลุยงานสัญญา 3-1 ดีเดย์ 22 มิ..นี้ ยืนยันราคา 9.3 พันล้าน ส่วนสัญญา 4-5 ยังรออัยการฯ ตรวจร่างสัญญา เล็งเดินเครื่องก่อสร้างทางวิ่งก่อน ขณะที่สัญญา 4-1 ยังไม่จบ รอเอกชนตัดสินใจสร้างพื้นที่ทับซ้อนเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมกางแผนหากสร้างเอง ดันงบเพิ่ม 6-8 พันล้าน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนช่วงกรุงเทพมหานครหนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา) ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและยังไม่ได้ลงนามในสัญญาอีก 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญา 3-1 งานโยธาช่วงแก่งคอยกลางดง และปางอโศกบันไดม้า ระยะทาง30.21 กม. ซึ่งขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยปัจจุบันทางกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV ผู้รับจ้าง ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์จำกัด (มหาชน) กับ China Railway Engineering Corporation ได้ยืนยันราคาประมาณ 9.3 พันล้านบาทซึ่งจะยืนยันราคาให้ถึง .. 2566 คาดว่าหลังจากนี้ฝ่ายก่อสร้างจะเสนอเรื่องมายังการรถไฟฯ เพื่อขออนุมัติไปยังคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฯ ในการประชุมครั้งหน้าหรือวันที่ 22 มิ.. 2566 และลงนามในสัญญาได้ในทันที

ขณะที่ สัญญา 4-5 งานโยธาช่วงบ้านโพพระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. การรถไฟฯ ได้อนุมัติเรื่องลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่กรมบัญชีกลาง และอัยการสูงสุดได้ให้คำแนะนำว่า สามารถมีเงื่อนไขบังคับก่อนได้ เพื่อให้ก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งได้ก่อน ในช่วงรอข้อสรุปสถานีอยุธยา โดยขณะนี้การจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลกแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการรายงาน HIA ไปยังองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยการกำเนินการตามคำแนะนำในการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งดังกล่าว เพื่อไม่ให้สัญญาในภาพรวมล่าช้า ซึ่งผู้ที่ชนะการประกวดราคาได้ยอมเงื่อนไขนี้ โดยในขณะนี้ อยู่ระหว่างตรวจร่างสัญญาของอัยการสูงสุด ก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญากับบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด (เครือ บมจ.ซีวิลเอนจิเนียริ่ง) วงเงิน 10,325 ล้านบาทต่อไป

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ส่วนสัญญาที่ 4-1 งานโยธาช่วงบางซื่อดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งมีปัญหาการทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิดอนเมืองอู่ตะเภา) นั้น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัดได้ดำเนินการขอขยายระยะเวลากับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือEEC ส่วนการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ได้ในช่วง มิ.. 2566 นั้น ก็ยังติดเงื่อนไขการเซ็นสัญญาของภาคเอกชน ที่อยู่ระหว่างการรอได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังขอเอกสารเพิ่มเติมด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการรถไฟฯ ยังยืนยันจะสามารถออก NTP ได้ภายใน มิ..นี้

ทั้งนี้ เอเชีย เอรา วัน ยืนยันว่า จะเดินหน้าโครงการต่อไป โดยมองว่า หากเอเชีย เอรา วันดำเนินการสร้างพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว จะดีที่สุด ซึ่งเอเชีย เอรา วัน อยู่ระหว่างการพิจารณาตัวเลขก่อน ซึ่งยอมรับว่า ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบกับภาพรวมการก่อสร้างของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีนด้วย อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามมติ สกพอ. คือ เจรจากับเอเชีย เอรา วัน แต่ขณะเดียวกัน ก็ดำเนินการคู่ขนานหากการถไฟฯต้องนำมาดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของทั้ง 2 โครงการในบริเวณดังกล่าวเอง และต้องไปแก้สัญญาฯ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

การรถไฟฯ อยากให้โครงการนี้สำเร็จ เพื่อให้ EEC เกิด เพราะถ้าโครงการนี้ไม่สำเร็จ ลองนึกภาพดูว่า EEC จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งถ้าการรถไฟฯ ต้องมาสร้างเองในพื้นที่ทับซ้อน ก็มีการคำนวนไว้แล้วทั้งที่ปรึกษาฯ และเอกชน จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า  6,000-8,000 ล้านบาท ส่วนการผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์(ARL) โดย รฟท. ได้รับค่าสิทธิฯ ครบจำนวน 10,671 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของ รฟท. อีกจำนวน1,060 ล้านบาท รวมทั้งเอกชนยังรับภาระหนี้ตามเดิมนั้น ยังจ่ายรายได้จากการบริหารตามการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) อยู่ งวดปีละ 1,000 ล้านบาทนายนิรุฒ กล่าว