‘ศักดิ์สยาม’ กางโปรเจกต์พัฒนาคมนาคม ‘บก-ราง-น้ำ’ พื้นที่ 3 จังหวัด ‘นครปฐม-ราชบุรี-กาญจนบุรี’

ศักดิ์สยามนำทัพหน่วยงานในสังกัดฯ ลงพื้นที่ กางแผนโปรเจกต์คมนาคมบกรางน้ำ 3 จังหวัดนครปฐมราชบุรีกาญจนบุรีจัดเต็มสร้างถนนทางหลวง & ทางหลวงชนบท บูรณาการมอเตอร์เวย์รถไฟทางคู่พร้อมขุดลอกแม่น้ำ เดินหน้าเรือไฟฟ้าต้นแบบคลองดำเนินสะดวกพ่วงจัดระเบียบแพเมืองกาญฯ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานโครงการสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ในพื้นที่ .นครปฐม วันนี้ (10 .. 2566) ว่าสำหรับโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการคมนาคมใน .นครปฐม .ราชบุรี และ .กาญจนบุรีประกอบด้วย การพัฒนาทางถนน ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP การเชื่อมโยงระบบการขนส่งสาธารณะและโครงการรถไฟทางคู่ และทางสายใหม่

ทั้งนี้ แผนงานพัฒนาโครงข่าย .นครปฐม ในส่วนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 3 โครงการ ระยะทางรวม 28.83 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย ทล.3233 นครชัยศรีบรรจบทางหลวงหมายเลข 3036 (วัดสามง่าม), ทล. 3233 .นครชัยศรีดอนตูม และ ทล.375 .ลำลูกบัวบรรจบทางหลวงหมายเลข346, โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3233 สาย .นครชัยศรี.ดอนตูม ระยะทางรวม 21.575 กม., โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 375 สาย ตำบลลำลูกบัวบรรจบทางหลวงหมายเลข 346

ขณะที่ แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคต จำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 49,844 กม. ประกอบด้วยทล.4 นครปฐมราชบุรี (สระกะเทียม.หนองโพ), ทล. 3296 ดอนตูมบางเลน, ทล.4 นครปฐมราชบุรี (.สนามจันทร์.สระกระเทียม), ทล. 3040 กำแพงแสนพระแท่นดงรัง (กำแพงแสน.หนองกร่าง) และ ทล. 3232 หนองพงนกไผ่เจดีย์

อีกทั้งการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท โดยโครงการระหว่างดำเนินการในปี 2566 มีจำนวน 30 โครงการประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน 5 โครงการ งานบำรุงรักษาทาง 14 โครงการ และงานอำนวยความปลอดภัย 11 โครงการ และเตรียมขอรับสนับสนุนงบประมาณปี 67 รวม 40 โครงการ ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน 6 โครงการ งานบำรุงรักษาทาง 18 โครงการ วงเงิน 336.070 ล้านบาท และงานอำนวยความปลอดภัย16 โครงการ พร้อมด้วยโครงการถนนสาย 7 ผังเมืองรวมราชบุรี

ทั้งนี้ จะเป็นแผนงานในอนาคตที่จะเร่งดำเนินการในระยะต่อไป ประกอบด้วย โครงการสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี(บริเวณวัดกกตาล) .นครชัยศรี .นครปฐม ความยาวสะพาน 400.00 เมตร, โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทล.3097-ศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม รวมระยะทาง 3.217 กม., โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ ช่วงศาลายานครชัยศรี .นครปฐม ส่วนแผนงานการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทในอนาคต จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ศาลายา .นนทบุรีนครปฐม ระยะทาง 12 กม.

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า แผนงานพัฒนาโครงข่าย .ราชบุรี มีโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 5 โครงการ ได้แก่ 1.การก่อสร้างทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4 กับทางหลวงหมายเลข 3087 (แยกเขางู) กม.100+594 ความคืบหน้า 90.28% 2.การก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 3090 ตอน บ้านเลือกหนองตากยา (ทางเลี่ยงเมืองโพธาราม) ที่ กม.5+600 ความคืบหน้า35.26% 3.การก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3291 ตอน .เจดีย์หัก.หนองหอย (กม.0+000-9+242) เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 8.95 กม. ความคืบหน้า 96.08%

4.การก่อสร้างทางขยายช่องจราจรหลวงหมายเลข 4 ตอนสระกระเทียมคลองอีจาง ระหว่าง กม.76+000-กม.79+000 จากเดิม 4 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 3 กม. ความคืบหน้า 53.23% และ 5.การก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3291 ตอนเตาปูนเบิกไพร เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 3.68 กม. ความคืบหน้า 3.47%

ส่วนโครงการที่ระหว่างดำเนินการ ในปี 2566 ได้แก่ การก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3208 ตอน เขาวังเหมืองผาปกค้างคาว ระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็น 4 ช่องจราจร อยู่ระหว่างรอเสนอราคา และการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3087 ตอนราชบุรีแก้มอ้น เป็น 4 ช่องจราจร และเพิ่มมาตรฐานทางชั้น 1 ระยะทาง 27.675 กม. อยู่ระหว่างคำนวณราคากลาง อีกยังมีโครงการสำคัญที่เตรียมจะขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2567 และปีต่อไป เช่น การก่อสร้างทางแยกต่างระดับห้วยชินสีห์ การก่อสร้างทางแยกต่างระดับเจ็ดเสมียน เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับแผนงานพัฒนาโครงข่ายทางหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 323 สายท่าเรือกาญจนบุรี (แยกพระแท่นดงรังต่อทางเทศบาลเมืองกาญจนบุรี) ค่าก่อสร้าง329 ล้านบาท และเปิดให้บริการในปี 2565, โครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่โครงการก่อสร้างปรับปรุงบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 323 กับทางหลวงหมายเลข 367 (แยกท่าล้อ) จำนวน 1 แห่ง คาดว่าจะเปิดให้บริการ ปี 2567

ส่วนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท .กาญจนบุรี (แผนปี 2566) ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน 6 โครงการ งานบำรุงรักษาทางและสะพาน 11 โครงการ งานอำนวยความปลอดภัย 11 โครงการ วงเงิน 237.276 ล้านบาท ซึ่งมีโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย .ท่าเสา วังกระแจะ .ไทรโยค .กาญจนบุรีระยะทาง 325 เมตร, โครงการบำรุงถนนสาย กจ.4088 แยก ทล.3272 – .อีตอง .ทองผาภูมิ ระยะทางประมาณ3.7 กม.

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP โดยแนวเส้นทางที่ผ่าน.นครปฐม ได้แก่ MR1 เชียงรายนราธิวาส ระยะทางรวมประมาณ 2,125 กม., แนวเส้นทาง MR6 กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) แนวเส้นทาง MR แบ่งเป็น 2 ส่วน ระยะทางรวมประมาณ 390 กม. ประกอบด้วยเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่กาญจนบุรี ระยะทางรวม 96 กม. และเส้นทางตามแผนในอนาคต ระยะทางรวม 294 กม. และ MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3

อีกทั้งเส้นทางเชื่อมต่อ ส่วนที่ 1 วงแหวนรอบที่ 2 (ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทางทั้งหมด 193 กม. เปิดให้บริการแล้วและเส้นทางบางขุนเทียนบ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนที่ 2 วงแหวนรอบที่ 3 เส้นทางในอนาคต ระยะทาง 346 กม. และส่วนที่ 3 เส้นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบที่ 2 และ 3 ได้แก่ เส้นทางบ้านแพ้วปากท่อระยะทาง 54 กม. และเส้นทางบางปะอินสุพรรณบุรี ระยะทาง 55 กม.

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาทางรางนั้น มีโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐมหัวหิน มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด 10 อำเภอ 21 ตำบล คือ .นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟนครปฐม จุดสิ้นสุดอยู่ที่สถานีรถไฟหนองแก .ประจวบคีรีขันธ์ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2566 รวมถึงการแก้ปัญหาจุดตัด โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐมหัวหิน อีกทั้งสะพานรถไฟคานขึงแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย .ราชบุรี ขณะนี้เร่งวางรางบนสะพาน ซึ่งเป็นทางเดี่ยว รวมถึงติดตั้งทางเดิน และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสะพาน คาดว่าสะพานจะแล้วเสร็จสมบูรณ์กลาง .. 2566

ขณะที่ การพัฒนาทางน้ำ แบ่งเป็น การพัฒนาทางน้ำในพื้นที่ .นครปฐม เช่น โครงการขุดลอกแม่น้ำท่าจีน กม.132 ตำบลไทรงาม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 1.1120 ล้านบาท (ดำเนินการแล้วเสร็จ) เป็นต้น ส่วนในพื้นที่ .ราชบุรี เช่น พัฒนาเรือพลังงานไฟฟ้าต้นแบบ สำหรับเรือเพลาใบจักรยาว เส้นทางคลองดำเนินสะดวก.ราชบุรี และพื้นที่ .กาญจนบุรี เช่น โครงการจัดระเบียบแพ (ย้าย) แพ 50 หลัง เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์, โครงการระบบการจัดการและบำบัดสิ่งปฏิกูล ของเสีย และขยะมูลฝอยจากแพ เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ได้เน้นย้ำให้การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมของกระทรวงคมนาคม ต้องสะดวก รวดเร็วประหยัด ราคาเป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสั่งการให้กรมทางหลวง (ทล.) พิจารณาการใช้แบริเออร์ในการกั้นแบ่งทิศทางการจราจร เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของประชาชน รวมทั้งการศึกษาโครงการต่างๆ ให้ดูความพร้อม ความต้องการของประชาชน และสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน

อีกทั้งให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อแปลงโยบายไปสู่การปฏิบัติ พร้อมกับการประชาสัมพันธ์การดำเนินการของกระทรวงคมนาคมต้องมีมิติหลากหลาย ที่สำคัญ คือ ดำเนินงานต่างๆ ให้ยึดกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเคร่งครัด