ชื่นมื่น! ‘นายกฯไทย-ลาว’ วางศิลาฤกษ์สร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 ‘บึงกาฬ-บอลิคำไซ’ คืบหน้า 57% คาดเปิดใช้ปี 67

นายกฯไทยลาววางศิลาฤกษ์สร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 “บึงกาฬบอลิคำไซมูลค่า 3.65 พันล้าน อัพเดทคืบหน้า 57% คาดแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการปี 67 หนุนขนส่งสินค้าสู่ตลาดจีนตอนใต้ เชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวง 5 ประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 .. 2565) พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วยนายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ)

โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหาร กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง(ทล.) และกรมขัวทาง กระทรวงโยธาธิการและขนส่งร่วมงานที่บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) .เมืองบึงกาฬ .บึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) .บึงกาฬว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้ง 4 มิติ คือ ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ

โดยให้เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) แห่งราชอาณาจักรไทยได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม โดย ทล. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 บึงกาฬบอลิคำไซ ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งต่อมาในปี 2562 ครม.ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

และผู้แทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่งแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง .บึงกาฬ เพื่อกำหนดขอบเขตงานก่อสร้าง

สำหรับโครงการสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬบอลิคำไซ) วงเงินก่อสร้าง 3,653 ล้านบาท ที่ร่วมลงทุนโดยรัฐบาลไทย 2,500 ล้านบาท และรัฐบาล สปป.ลาว 1,152 ล้านบาท แบ่งความรับผิดชอบการก่อสร้างจากกึ่งกลางสะพาน ปัจจุบันมีความคืบหน้าในภาพรวมทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาวข้อมูลเมื่อ .. 2565 อยู่ที่ 57% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2567 โดยฝั่งไทยได้แบ่งก่อสร้างออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอน 1 งานถนนฝั่งไทย มีที่ตั้งโครงการบน ทล.244 ระหว่าง กม. 0+000-9+400 ระยะทาง 9.400 กิโลเมตร (กม.) .บึงกาฬ ค่างาน 831 ล้านบาท เริ่มสัญญา 30 มิ.. 2563 สิ้นสุด 16 .. 2565 บริษัทบัญชากิจจำกัดเป็นผู้รับจ้างผลงานคืบหน้า 71%

ตอน 2 งานถนนฝั่งไทย และด่านพรมแดนฝั่งไทย ที่ตั้งโครงการบน ทล.244 ระหว่าง กม.9+400-12+082.930 ระยะทาง 2.683 กม. .บึงกาฬ ค่างาน 883 ล้านบาท เริ่มสัญญา 25 .. 2563 สิ้นสุด 13 มี.. 2566 บริษัท เทิดไทแอนด์ โค จำกัดเป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 64%

ตอน 3 งานสะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย (รวมงานปรับปรุงสี่แยก ทล. 212 และลานอเนกประสงค์ใต้สะพาน) ระหว่างกม.12+082.930-13+032.930 ค่างาน 786 ล้านบาท เริ่มสัญญา 24 .. 2563 สิ้นสุด 8 .. 2566 บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัดเป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 32%

ส่วนฝั่งลาวแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ตอน วงเงินรวม 1,152 ล้านบาท ได้แก่ ตอน 1 งานสะพานข้ามแม่น้ำโขง วงเงิน379 ล้านบาท คืบหน้า 43% และตอน 2 งานอาคารด่านพรมแดน วงเงิน 773 ล้านบาท คืบหน้า 64%


นายศักดิ์สยาม
กล่าวต่อว่า โครงการนี้มีระยะทาง 16.34 กม. แบ่งเป็นถนนฝั่งไทยยาว 13.033 กม. และถนนฝั่งลาวยาว 3.307 กม. แนวเส้นทางเริ่มต้นที่ฝั่งไทย ช่วงจุดตัดทางหลวงหมายเลข 222 บนพื้นที่ .วิศิษฐ์ .ไคสี และ.บึงกาฬ .เมืองบึงกาฬ มุ่งไปทางทิศตะวันตกเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข บก. 3217 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง มุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิมและตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข บก. 3013 เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านพรมแดนฝั่งไทย และยกข้ามทางหลวงหมายเลข 212 ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง 200 เมตร     

จากนั้นจะข้ามแม่น้ำโขงผ่านจุดสลับทิศทางจราจร และด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว สิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 13 ลักษณะโครงการเป็นรูปแบบทางหลวง ถนนขนาด 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง2.50 เมตร ในเขตทาง 60 เมตร

รูปแบบสะพานข้ามแม่นํ้าโขงเป็นแบบสะพานคานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด 2 ช่อง มีไหล่ทางและทางเท้าความยาวช่วงข้ามแม่นํ้าโขง 810 เมตร และทางลาดขึ้นลงสะพานทั้งสองฝั่ง รวมความยาวสะพานทั้งหมด 1,350 เมตรมีด่านควบคุม อยู่ทั้ง 2 ฝั่งประเทศ และมีจุดสลับทิศทางจราจรอยู่ในฝั่ง สปป.ลาว   

นอกจากนี้ แนวคิดในการออกแบบโครงสร้างสะพานได้มีการนำแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่น มาใช้ในการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สะท้อนให้เห็นถึงความสนุก รื่นเริง ความเป็นมิตรไมตรี ความคุ้นเคย และความเป็นกันเองในวัฒนธรรมของประเทศไทย และ สปป.ลาว ส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสองประเทศ สร้างความเจริญทางด้านสังคม และเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ สะพานดังกล่าวยังมีระบบเฝ้าติดตามพฤติกรรมสะพาน เพื่อใช้สำหรับติดตามสภาพโครงสร้างของสะพานได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้การตรวจสอบสะพานง่ายขึ้น ลดภาระการเข้าไปตรวจสอบด้วยคน และสามารถช่วยในการตัดสินใจในการเลือกมาตรการดำเนินการกับโครงสร้างสะพาน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างประโยชน์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ทั้งพื้นที่ .บึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ ให้เป็นประตูการค้าที่สำคัญในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคกลางของ สปป.ลาว สู่ท่าเรือแหลมฉบัง .ชลบุรี เพื่อขนส่งทางทะเลไปยังภูมิภาคอื่นต่อไป

นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้านการขนส่ง ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดีเจ้าพระยาแม่โขง หรือ ACMECS (แอ็กเม็กส์) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยง 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาไทยสปป.ลาวเวียดนามกัมพูชาอีกด้วย