กทท.บูม ‘ท่าเรือกรุงเทพ’ ทุ่ม 70 ล้าน ศึกษา-ออกแบบ Modern Port City พร้อมเตรียมปั้น ‘ฮับท่าเรือแม่น้ำ’ หนุนขนส่ง-โลจิสติกส์

กทท. กางแผนพัฒนาท่าเรือกรุงเทพอัดงบ 70 ล้าน ศึกษาออกแบบ Modern Port City พัฒนาพื้นที่การค้าริมเจ้าพระยาศูนย์กระจายสินค้า คาดศึกษาเสร็จในปี 67 ก่อนเร่งเครื่องสร้าง 5 ปี ควบคู่แก้ไข ...การท่าเรือ ลุยพัฒนาอสังหาฯ ได้เต็มสูบ พร้อมเตรียมปั้นศูนย์กลางท่าเรือแม่น้ำขยายขีดความสามารถรับตู้สินค้า 1.8 ล้านที.อี.ยู. ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์แก้จราจรติดขัด จ่อชงคมนาคมไฟเขียว ..นี้ ส่วน Smart Community “คลองเตยเร่งทบทวนแผน คาดเสร็จภายในกลางปี 66

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทท. อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบ (Detail Design) แผนพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพขนาดพื้นที่ 900 ไร่ และแบ่งพื้นที่มาพัฒนาเป็น Modern Port City ซึ่งจะมีทั้งการพัฒนาพื้นที่ด้านการค้า (Commercial Zone) และศูนย์กระจายสินค้า (DC) สำหรับการศึกษาและออกแบบในครั้งนี้ ใช้งบประมาณปี 2566 วงเงิน 70 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 1 ปี หรือคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2567 ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการต่อไป หลังจากนั้นจะใช้เวลาในการพัฒนา Modern Port ประมาณ 5 ปี ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว ควบคู่กับการแก้ไข ...การท่าเรือฯ เพื่อให้ กทท. สามารถพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งการจัดตั้งบริษัทลูกมาบริหารสินทรัพย์ด้วย

ขณะเดียวกัน กทท. อยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์กลางท่าเรือแม่น้ำ และจะเป็นจุดขนส่งสินค้าถ่ายลำ (Transshipment) ไปยังท่าเรือต่างๆ ร่วมกับพันธมิตรท่าเรือแม่น้ำอื่นๆ รวมถึงท่าเรือเอกชน อาทิ .ไทรน้อย.นครหลวง .อยุธยา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้า จากปัจจุบันสามารถรองรับได้ตู้สินค้า 1.43 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มอีก 3 แสน ที.อี.ยู. รวมเป็น 1.8 ล้าน ที.อี.ยู. นอกจากนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณท่าเรือฯ และช่วยลดต้นโลจิสติกส์ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน .. 2565

นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า ส่วนความโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย (Smart Community) นั้น ขณะนี้ กทท. อยู่ระหว่างการทบทวนแผน พร้อมทั้งออกแบบแนวทางที่เหมาะสม โดยก่อนหน้านี้ กทท. ได้มีออกแบบ 3 แนวทางไว้แล้ว ประกอบด้วย 1.การย้ายขึ้นอาคารสูงในพื้นที่องค์การฟองหนัง (เดิม) ในรูปแบบของอาคารชุด 2.การย้ายไปพื้นที่ว่างเปล่าย่านหนองจอก และ 3.การรับเงินชดเชยเพื่อกลับภูมิลำเนา โดยจะให้ได้รับมูลค่าหรือสิทธิประโยชน์ในวงเงินที่เหมาะสมและเสมอภาคกัน

ทั้งนี้ การทบทวนแผนดังกล่าว เนื่องจากภายหลังได้มีการหารือร่วมกับประชาชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตยกว่า 1.3 หมื่นครัวเรือนแล้ว ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงแนวทางที่เหมาะสม และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด พร้อมทั้งต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กทท., รฟท., การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), กรุงเทพมหานคร (กทม.), การเคหะแห่งชาติ, กรมพัฒนาชุมชน เป็นต้น

ซึ่งเรื่องดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการบริหารการพัฒนาเมือง จึงต้องมีรายละเอียดและทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ตอบโจทย์ในเรื่องคุณชีวิตดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในกลางปี 2566

รายงานข่าวจาก กทท. ระบุว่า สำหรับการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ เป็น Modern Port City แบ่งการพัฒนาที่ดินเป็น3 โซน คือ 1.Commercial Zone พัฒนาพื้นที่ด้านการค้า จะมีอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี 17 ไร่ ด้านข้างอาคารที่ทำการปัจจุบัน ภายในอาคารประกอบด้วย สำนักงาน ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์แสดงสินค้า นิทรรศการ ศูนย์การประชุมพื้นที่ค้าปลีก และธนาคาร ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า 54 ไร่

รวมถึงมีอาคารสำนักงาน 126 ไร่ (ไม่รวมตลาดคลองเตย) อยู่ในทำเลศักยภาพพัฒนากิจกรรมที่มีความหลากหลาย และสนับสนุนกิจการของท่าเรือและชุมชนโดยรอบ เช่น ศูนย์กลางการค้าและพาณิชยกรรมนำเข้าส่งออก อาคารพาณิชย์ อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เป็นต้น

2.Core Business Zone พัฒนาธุรกิจหลัก การให้บริการท่าเรือกรุงเทพ โดยปรับพื้นที่จากปัจจุบัน 943 ไร่ เหลือ 534 ไร่ ซึ่งจะมีการพัฒนาสถานีบรรจุสินค้าเพื่อส่งออกและบูรณาการพื้นที่หลังท่าเป็นคลังสินค้าขาเข้าเขตปลอดภาษี รวมถึงพื้นที่ปฏิบัติการสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าต่างๆ และยังมีท่าเทียบเรือตู้สินค้าบริเวณเขื่อนตะวันตกติดคลองพระโขนงเป็นต้น

และ 3.Bangkok Modern City พื้นที่พัฒนาเมืองท่าเรือกรุงเทพ อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เน้นการพัฒนาเมืองธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศ ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางน้ำและเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมถึงพัฒนาอาคารมิกซ์ยูสครบวงจร มีช้อปปิงมอลล์ ที่จอดรถ และโรงแรม