เปิดแผน! เดินขบวนรถไฟโดยสาร ‘ไทย-สปป.ลาว’ เตรียมเปิดหวูด ‘โคราช-บ้านคำสะหวาด’ ปี 67 จ่อขยายวิ่งทางไกลเข้า ‘บางซื่อ’ ในปี 68

ศักดิ์สยามกางแผนเดินขบวนรถโดยสารเชื่อมไทยสปป.ลาว เตรียวเปิดหวูดโคราชบ้านคำสะหวาดปี 67 ก่อนขยายวิ่งระยะทางไกลเข้าบางซื่อในปี 68 พร้อมลุยศึกษาเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์วางแนวทางเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ 2 ประเทศอย่างไร้รอยต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (6 .. 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คณะผู้แทนไทย และนางสาวจิรัสยา พีรานนท์ อุปทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงเวียงจันทน์ ได้เยี่ยมชมการบริหารจัดการเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ ในโอกาสเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคายเวียงจันทน์ เขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมี คณะผู้บริหารและพนักงานของบริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค จำกัด และบริษัท ท่าบกท่านาแล้งจำกัดผู้เดียว ให้การต้อนรับ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการพัฒนาการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน รวมถึงเป็นการใช้ประโยชน์จากการเปิดใช้รถไฟลาวจีน ที่จะช่วยขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทยสปป. ลาว โดยกระทรวงคมนาคม มีภารกิจหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่งอย่างบูรณาการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างภูมิภาคที่มุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงและพัฒนาระบบนิเวศในการประกอบธุรกิจระหว่างกัน ซึ่งไทยสปป. ลาว สามารถเติมเต็มเพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมกันในอนุภูมิภาค และในวันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐ และภาคเอกชนของไทยจะได้ร่วมหารือและติดตามความคืบหน้าของโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายต่อไป

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามที่เมื่อวันที่ 13 มิ.. 2565 คณะทำงานศึกษารายละเอียดด้านการคมนาคมเพื่อรองรับการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีโยธาธิการและขนส่งและคณะผู้แทนฝ่ายลาวนั้น

โดยฝ่ายลาวมีความยินดีที่ให้ฝ่ายไทยดำเนินการศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ทั้งในรูปแบบสะพานรถไฟและรถยนต์ โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาผลการศึกษาร่วมกันต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นฝ่ายลาวเสนอว่าสะพานรถไฟ และรถยนต์ควรแยกออกจากกัน

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟลาว ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 26 . 2565 และ 9 .. 2565 และมีมติเห็นชอบให้สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีระหว่างประเทศเช่นเดิม โดยการรถไฟลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมพนักงานขับรถและพนักงานรักษารถ ซึ่งเมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยพร้อมการยืนยันการใช้ทางแล้ว ก็จะดำเนินการเปิดเดินรถต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการเปิดเดินขบวนรถโดยสาร แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

แผนระยะเร่งด่วน (ปี 2566) ขยายต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบันในฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 4 ขบวน ไปกลับ) เริ่มให้บริการกลางปี 2566

แผนระยะกลาง (ปี 2567) ขยายต้นทาง/ปลายของขบวนในฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี (วันละ 4 ขบวน ไปกลับ) เปิดเดินขบวนรถระหว่างสถานีนครราชสีมาบ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไปกลับ)

แผนระยะยาว (ปี 2568 เป็นต้นไป) จัดเดินขบวนรถโดยสารทางไกล ระหว่างสถานีบางซื่อ/พัทยาสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไปกลับ)

อย่างไรก็ตาม รฟท. และการรถไฟลาว ได้หารือร่วมกัน เมื่อวันที่ 20 .. 2565 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปิดเดินรถเมื่อวันที่ 16 .. 2565 ในประเด็นการติดตั้งระบบจำหน่ายตั๋วในฝั่งลาว

 

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การให้บริการขนส่งสินค้า เวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค ท่าเรือบก (Dry Port) ท่านาแล้งโครงการเวียงจันทร์โลจิสติกส์ปาร์ค (Vientiane Logistics Park : VLP) สำหรับ Dry Port ท่านาแล้ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ VLP ที่ประกอบด้วย Dry Port และการสร้างเขตโลจิสติกส์ครบวงจร โดยปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จในระยะแรก และอยู่ระหว่างก่อสร้างทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ของรถไฟลาวจีน ถึงท่าเรือบกท่านาแล้ง ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร (กม.)

ทั้งนี้ โครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค โดยบริษัท สิดทิโลจิสติกส์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือปิโตรเทรดดิ้ง ลาวจำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานระยะเวลา 50 ปีจากรัฐบาล สปป.ลาว ให้เป็นผู้พัฒนาโครงการ VLP ประกอบด้วย

  • ท่าเรือบก (Dry Port)
  • Export Processing Zone
  • Free Trade Zone
  • Logistics Park
  • Tank Farm

โครงการฯ มีพื้นที่รวม 2,387.5 ไร่ ในบ้านดงโพสี เมืองหาดซางฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 1 ประมาณ 1.5 กม. โดยพื้นที่โครงการครอบคลุมสถานีท่านาแล้ง และลานกองเก็บตู้สินค้า(Container Yard : CY) ของสถานีท่านาแล้งด้วย

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนา CY ของสถานีท่านาแล้งซึ่งตั้งอยู่ระหว่างสถานีท่านาแล้ง (รถไฟไทยลาว) กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ (รถไฟลาวจีน) ให้เป็นท่าเรือบก เพื่อเป็นจุดดำเนินพิธีการศุลกากรและเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่าง2 สถานี โดยบริษัทฯ ได้รับโอนอาคารสถานที่และ CY ของสถานีท่านาแล้งจากรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.. 2564

ในส่วนของการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจากฝั่งไทย
ไปถ่ายลำขึ้นรถไฟลาวจีน ซึ่งปัจจุบันลาน CY ของสถานีท่านาแล้งสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้สูงสุดประมาณ20,000 ตู้ ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการขนส่งยังมีไม่มากนัก โดยในแต่ละเดือนมีการขนส่งเฉลี่ยประมาณ 2,000 ตู้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทปุ๋ย และสินค้าเกษตร โดยบริษัทฯ จะก่อสร้างถนนระยะทาง 1.8 กม. ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิดเพื่อบังคับให้รถบรรทุกวิ่งตรงจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ไปผ่านพิธีการศุลกากรในบริเวณท่าเรือบก

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า การศึกษาดูงานในวันนี้ทางฝ่ายไทยได้เรียนรู้ถึงวิสัยทัศน์ของ สปป.ลาว ที่วางยุทธศาสตร์ว่าจะเปลี่ยนจากประเทศ Landlocked ให้เป็น Land-Linked ผ่านนโยบาย Lao Logistics Link (LLL) ที่จะเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศไทยกับจีน และเวียดนามผ่านเครือข่ายระบบการขนส่งทางถนนและทางรางซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและ GDP ของ สปป.ลาวอย่างยั่งยืน รวมถึงจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ การได้รับทราบถึงแนวทางและวิสัยทัศน์ของ สปป. ลาว ในวันนี้นั้น จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย รวมไปถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงกับโครงการ Land Bridge ชุมพรระนองให้เป็นรูปธรรมอันจะสามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้เป็นไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป