‘ภูมิใจไทย-คมนาคม’ เดินเครื่องแก้ปม ‘มลพิษทางอากาศ’ ลุยเปลี่ยนใช้ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ สางปัญหาอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยโดยกระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ เช่น การขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และการปรับปรุงการใช้รถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ได้

อันที่จริงแล้วกระทรวงคมนาคมโดยรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ได้มีนโยบายเรื่องรถไฟฟ้า มาตั้งแต่นายโสภณ ซารัมย์ ครั้งยังดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อปี 2551 ในการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ และการเช่ารถเมล์พลังงานสะอาด NGV มาแล้ว

และเมื่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อย่างเป็นทางการเมื่อตั้งแต่.. 2562 ก็นำเรื่องนี้มาต่อยอดให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และมาเริ่มดำเนินการในระบบรถร่วม ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชน และในช่วงก่อน 180 วัน ที่สภาผู้แทนราษฎรจะหมดวาระ โดยได้มีป้ายข้อความหลุดออกมาว่า

พูดแล้วทำรถเมล์ไฟฟ้า ลด PM 2.5 ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท สูงสุด 40 บาท ทุกเที่ยว ทุกสาย ตลอดวัน ซึ่งจะสื่อในเรื่องที่เกิดขึ้นมา และจะทำต่อไป

สำหรับแนวทางการดำเนินการดังกล่าว จากนโยบายได้แปรมาสู่การปฏิบัติได้จริง โดยเมื่อวันที่ 19 .. 2565 ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 (2-38) ใน คอนเซ็บต์“We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้นสะท้อนถึงประวัติศาสต์ชาติไทยของการเปลี่ยนแปลงระบบรถโดยสารสาธารณะครั้งยิ่งใหญ่

โดยก้าวข้ามผ่านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทย ออกมาส่งเสริมประเทศด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม นับได้ว่า เป็นปรากฎการณ์อันยิ่งใหญ่ที่น่ายกย่อง และควรจะได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง

จากนั้น เมื่อวันที่ 29 .. 2565 ที่ผ่านมา ยังได้เพิ่มการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าอีก 2 สาย คือ สาย 17 และ สาย 82 เพื่อเชื่อมโยงทุกการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ พร้อมเน้นย้ำนโยบายเดินหน้าพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและมลภาวะทางอากาศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว สอดรับจากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพรถโดยสารสาธารณะในการให้บริการประชาชน โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 .. 2565 ได้มีข้อสั่งการติดตามให้มีการใช้รถเมล์ไฟฟ้า EV

ขณะเดียวกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนให้เกิดกระแสการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยได้ดำเนินการจ้างเหมาบริการรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้พลังงานสะอาด (รถไฟฟ้า) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเดินรถและลดมลภาวะเป็นพิษในเขตเมือง เพื่อให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยรถทุกคันนั้น จะใช้พลังงานไฟฟ้าอันเป็นพลังงานสะอาด อันเป็นการดำเนินการ ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้รถพลังงานไฟฟ้า รวมถึงจะมีการพัฒนาให้เป็นรถพลังงานไฮโดรเจนต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและมลภาวะทางอากาศที่มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดการดำเนินการในปี 2565 จะมีรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเป็น 972 คัน ใน 77 เส้นทางจากการผลักดันนโยบายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งประชาชนจะสามารถใช้บริการเครือข่ายรถเมล์พลังงานสะอาดกว่า 1,250 คัน ใน 122 เส้นทางที่ปฏิรูปใหม่ภายในปลายปี 2565 ซึ่งได้มีการวางแผนเชื่อมต่อระบบล้อรางเรืออย่างครบวงจร

กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญกับการให้บริการด้วยรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า อันจะเป็นพลังสำคัญของประเทศไทยในการสร้างสรรค์ และพัฒนาบริการที่ดีให้แก่ประชาชน ขอให้รักษาคุณภาพ มาตรฐานการบริการเป็นต้นแบบการพัฒนารถโดยสารประจำทางเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมพร้อมจะให้ความร่วมมือ ร่วมกันทำงานกับภาคเอกชนเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวให้คำมั่นสัญญา

ด้วยความสำคัญของการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศนั้น ต้องยอมรับว่า กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 31 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (NDC) ภายในปี 2573 และหากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศรวมทั้งการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศไทยจะมาสามารถยกระดับเป้าหมายNDC ขึ้นเป็น 40%

ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (net zero greenhouse gas emission) ภายในหรือก่อนหน้าปี 2608 ตามที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

… นับเป็นความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคม โดยภายใต้การบริหารงานของคนภูมิใจไทยที่ไม่เพียงจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว แต่ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศด้วย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน …