‘ศักดิ์สยาม’ เตรียมลงพื้นที่ ‘ภูเก็ต’ ตามงาน ‘รถรางล้อยาง’ เฟส 1 ‘สนามบินฯ-ห้าแยกฉลอง’ ภายใน มิ.ย.นี้

ศักดิ์สยามเตรียมลงพื้นที่ภูเก็ตภายใน มิ..นี้ เร่งเครื่องระบบขนส่งมวลชนรถรางล้อยางเฟส 1 ช่วงสนามบินภูเก็ตห้าแยกฉลอง 42 กม. ด้าน รฟม. ลุยศึกษาความเหมาะสม พ่วงหารือ ทล. ใช้แนวเส้นทาง ช่วยหั่นงบโครงการฯพร้อมจ่อเสนอบอร์ด รฟม. & PPP แล้วเสร็จภายในปี 65 ก่อนเดินหน้าเปิดประมูล

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมลงพื้นที่ .ภูเก็ต ภายใน มิ.. 2565 เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ตห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร(กม.)

ทั้งนี้ นโยบายของนายศักดิ์สยามนั้น ได้สั่งการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปปรับรูปแบบเป็นรถรางล้อยาง (Automated Rapid Transit : ART) จากเดิมเป็นรูปแบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (แทรม) ซึ่งจะทำให้กรอบวงเงินโครงการลดลงประมาณ 15,000 ล้านบาท หรือจากวงเงิน 35,000 ล้านบาท เหลือเพียงวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท

ด้านรายงานข่าวจาก รฟม. ระบุว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการดังดล่าว ในขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ พร้อมทั้งหารือร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้พื้นที่ถนนทางหลวงเป็นแนวเส้นทางการเดินรถ ART .ภูเก็ต

โดยในเบื้องต้นจะมีการปรับเพิ่มช่องจราจร เพื่อลดประมาณการลงทุนตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม จากเดิมหากเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก แนวเส้นทางเดินรถจะเป็นพื้นที่ต่างระดับ และขุดเจาะอุโมงค์ อาจทำให้งบประมาณการลงทุนโครงการสูง ส่งผลให้ค่าโดยสารสูงตามไปด้วย ไม่ดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ข้อสรุปของโครงการฯ ว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด รวมถึงเส้นทางการเดินรถนั้น  ต้องเสนอผลสรุปโครงการให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาทบทวนการลงทุนใหม่ ขณะเดียวกัน ต้องเสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เพื่อปรับรายงานใหม่ ซึ่งคาดว่า จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2565 ก่อนเข้าสู่กระบวนการร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) ต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟม. ระบุอีกว่า ก่อนหน้านี้ รฟม. ได้เสนอผลการศึกษาโครงการฯ โดยได้เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็ก (แทรม) วงเงินรวม 35,201 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท 

2.รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท 

3.รถรางล้อยาง (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท