‘ศักดิ์สยาม’ กางไทม์ไลน์ ‘รถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย’ 4 เส้นทาง มูลค่ารวม 6.48 หมื่นล้าน พร้อมร่วมมือ ‘ศิริราช’ สร้างสถานีร่วม & อาคารรักษาพยาบาล

ศักดิ์สยามกางไทม์ไลน์รถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย” 4 เส้นทาง มูลค่ารวม 6.48 หมื่นล้าน ประเดิมประกวดราคาก่อน 3 เส้นทางภายใน .. 65 ด้าน “Missing Link” เร่งทบทวนแผน จ่อเสนอ ครม.ภายใน ..65 เริ่มตอกเข็ม ..66 เปิดใช้ ..71 พร้อมจับมือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เดินหน้าก่อสร้างสถานีร่วมศิริราช & อาคารรักษาพยาบาล

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินรวม 64,836 ล้านบาทว่า ตนได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดดำเนินการต่อขยายระบบการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง และทำกรอบระยะเวลา (Timeline) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อให้สามารถเดินตามแผนที่คาดว่าจะขออนุมัติใน .. 2565 โดยเร็ว

สำหรับความคืบหน้าในแต่ละเส้นทางนั้น ได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าโครงการปัจจุบัน วงเงิน 6,407 ล้านบาท ขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งจะสามารถประกวดราคาได้ โดยจะลงนามภายหลังที่รายงาน EIA ผ่านความเห็นชอบแล้ว คาดว่า จะประกวดราคาได้ในช่วง มิ..-.. 2565 ก่อสร้างโครงการ 3 ปี หรือในช่วง .. 2565-.. 2568 และเปิดให้บริการ .. 2569

2.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชันศาลายา มูลค่าโครงการปัจจุบัน วงเงิน 10,197 ล้านบาท ขณะนี้ มีความพร้อมในการจัดทำเอกสารประกวดราคา, จัดทำ EIA และเวนคืนที่ดิน คาดว่า จะประกวดราคาได้ในช่วง มิ..-.. 2565 ก่อสร้างโครงการ 3 ปี หรือในช่วง .. 2565-.. 2568 และเปิดให้บริการ .. 2569

3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชันศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มูลค่าโครงการปัจจุบัน วงเงิน 6,193 ล้านบาท ขณะนี้ มีความพร้อมในการจัดทำเอกสารประกวดราคา, จัดทำ EIA และเวนคืนที่ดิน คาดว่า จะประกวดราคาได้ในช่วง มิ..-.. 2565 ก่อสร้างโครงการ 4 ปี หรือในช่วง .. 2565-.. 2569 และเปิดให้บริการ .. 2570

4.ช่วงบางซื่อพญาไทมักกะสันหัวหมาก และช่วงบางซื่อหัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มูลค่าโครงการปัจจุบัน วงเงิน 42,039ล้านบาท ขณะนี้  อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารประกวดราคา ซึ่งมีการปรับรูปแบบแบ่งสัญญา รวมทั้งปรับปรุงกรณีย้ายสถานีราชวิถี ส่วนมูลค่างานโยธาเพิ่มขึ้นจากมตอคณะรัฐมนตรี (ครม.)

อย่างไรก็ตาม คาดว่า Missing Link จะทบทวนและปรับปรุงแผนแล้วเสร็จภายใน .. 2565 จากนั้นจะเสนอครม.ในช่วง ..-.. 2565 ก่อนที่จะประกวดราคาในช่วง .. 2565-เม..2566 ก่อสร้างโครงการในช่วง .. 2566-.. 2570 และเปิดให้บริการ .. 2571

*** ผนึกกำลัง ‘ศิริราช’ ก่อสร้างสถานีร่วม & อาคารรักษาพยาบาล ***

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล ระหว่าง รฟท. รฟม. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วันนี้ (27 เม.. 2565) ว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เกิดการบูรณาการการใช้พื้นที่บริเวณสถานีร่วมศิริราชของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชันศิริราชและโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนที่เดินทางในระบบขนส่งสาธารณะและผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลศิริราชมากยิ่งขึ้น

โดยมีความตกลงในเรื่องรูปแบบ ขอบเขตความรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายและแผนการดำเนินงาน ภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบ และคำสั่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน รวมถึงกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง (ขร.)  เพื่อร่วมผลักดันให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าประสงค์ต่อไป

สำหรับอาคารรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นการก่อสร้างอาคารสูง15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 55,057 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่โรงพยาบาล 50,741 ตารางเมตร พื้นที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 พร้อมเปิดให้บริการในปี 2570

ทั้งนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถให้บริการผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน การบริการ Ambulatory Unit/ One Day Surgical โดยผู้ป่วยสามารถเดินทางมารับบริการแล้วกลับบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องพักค้าง รวมถึงบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความสะดวกสบายจากการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะและการบริการสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้ การลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในครั้งนี้ จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ของการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ร่วมกันสนับสนุนและประสานความร่วมมือ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล ให้ประสบความสำเร็จ เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยซึ่งจะเป็น Model ต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนสำหรับโครงการอื่นๆ ต่อไป