Dow ชี้เทรนด์บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำด้านวัสดุศาสตร์ (Materials Science) แชร์เรื่องราวธุรกิจแพคเกจจิ้งกับบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดโลกร้อนและแก้ปัญหาขยะ พร้อมแนะเทรนด์นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนสำหรับบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต (Sustainable Innovation for Future Packaging) ในงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 60 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ “นวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรวิถีถัดไป: แผนที่นำทางเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

การผลิตบรรจุภัณฑ์ในยุคนี้ไม่ใด้มองแค่เรื่องความทนทานและความสวยงาม แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Dow จึงให้ความสำคัญต่อการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน หยุดขยะพลาสติก ส่งเสริมวงจรรีไซเคิลตลอดทั้ง Value chain และลดขยะพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเฉพาะการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่

ดร.ธวัชชัย ตุงคะเวทย์ Senior Technical Service and Development Specialist กล่าว่า ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนมากมายเพื่อใช้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% (Design for Recyclability) มีเทคโนโลยีนวัตกรรมเม็ดพลาสติกลดโลกร้อนที่ลดปริมาณการใช้พลาสติกแต่ยังคงทำให้ถุงบรรจุภัณฑ์มีประสิทธิภาพดังเดิม (Downgauging) รวมถึงเม็ดพลาสติกสูตรพิเศษผสมพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว (Post-consumer Recycled Resin: PCR) ที่ยังคงคุณสมบัติเทียบเท่ากับฟิล์มที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ ช่วยลดการใช้พลาสติก ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

 นางสาวชมพูนุช จันทร์บัว Market Development Manager กล่าว่า ขอยกตัวอย่างโครงการของ Dow ที่ได้ร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนการคัดแยกพลาสติกใช้แล้วตั้งแต่ต้นทางและนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าให้กับวัสดุที่ใช้แล้วไม่ให้เป็นขยะ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการถนนพลาสติก การทำพาเลทไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว และการนำขยะพลาสติกในทะเลมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งราคาไม่ต่างจากวัสดุทั่วไปและมีความคงทนเทียบเท่าของเดิม แต่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน