จุดพลุ! ‘นายกฯ’ ประเดิมแลนดิ้งไฟลท์ปฐมฤกษ์ ‘กรุงเทพฯ-เบตง’ เล็งทุ่มงบ 1,871 ล้าน อัพเกรดสนามบิน รองรับเครื่องบินไซส์ใหญ่

ฤกษ์ดี! 14 มี.. 65 “นายกฯประธานเปิดไฟลท์บินเชิงพาณิชย์กรุงเทพฯเบตงพัฒนาขนส่ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ด้านศักดิ์สยามหนุนเปิดเส้นทางระหว่างประเทศ ดันไทยสู่ฮับการบินในภูมิภาค ฟาก ทย. กางแผนเปิด 3 เส้นทางบินเพิ่ม เผยบางกอกแอร์เวย์สสนใจ พร้อมเตรียมทุ่มงบ 1,871 ล้าน ขยายรันเวย์ทางขับลานจอด รองรับเครื่องบินไซส์ใหญ่

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง วันนี้ (14 มี.. 2565) ว่า เบตงเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทยติดกับชายแดนของประเทศมาเลเซีย ถือเป็นเมืองชายแดนที่มีการเคลื่อนไหวทางธุรกิจและการค้าขายสูง ประกอบกับมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ รวมถึงภาษาที่หลากหลาย และธรรมชาติมีความสวยงามทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ รัฐบาลได้มอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการพัฒนาระบบการขนส่งของพื้นที่ .ยะลา โดยการพัฒนาบริการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนาด่านศุลกากรชายแดน ศูนย์เศรษฐกิจชายแดนและการอำนวยความสะดวกผ่านแดนที่รวดเร็ว ตลอดจนผลักดันการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทางบกและทางอากาศ เพื่อให้เกิดระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ สามารถรองรับการค้าและการลงทุนที่จะสูงขึ้นจากการเป็นประชาคมอาเซียน

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปิดให้บริการท่าอากาศยานเบตงนั้น เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งในพื้นที่จังหวัดยะลา กระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ไขปัญหาการเดินทางสู่ .เบตง ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ให้สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ทั้งนี้ ทย. จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 .. 2558 และนโยบายการพัฒนา 14 จังหวัดภาคใต้ โดยได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เมื่อวันที่ 28 .. 2565 ซึ่งมีความพร้อมให้บริการตามมาตรฐาน ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาทางดานเศรษฐกิจ สังคม และการทองเที่ยว เนื่องจาก .เบตงมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับจังหวัด รองจาก .เมืองยะลา

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ท่าอากาศยานเบตง เริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์แรก โดยสายการบินนกแอร์ เส้นทางกรุงเทพฯเบตงกรุงเทพฯ ในวันนี้ (14 มี.. 2565) ซึ่งเส้นทางการบินและการขึ้นลงของอากาศยาน จะอยู่ในน่านฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น นอกจากเส้นทางให้บริการภายในประเทศแล้ว ท่าอากาศยานเบตง ยังมีความพร้อมที่จะมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Regional Hub) ในเส้นทางระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในอนาคตด้วย

ขณะที่นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.)​ กล่าวว่า สำหรับการให้บริการท่าอากาศยานเบตงสามารถรองรับผู้โดยสาร 800,000 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 300 คน โดยในอนาคต คาดว่า จะมีการเพิ่มเที่ยวบิน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ​ (สุวรรณภูมิ)-เบตง และหาดใหญ่เบตง จากเดิมที่มีเฉพาะเส้นทางดอนเมืองเบตงนอกจากนี้ ทย.มีแผนและความพร้อมที่จะเปิดให้บริการเส้นทางระหว่างประเทศอีก 1 เส้นทาง คือ เบตงมาเลเซีย โดยขึ้นอยู่กับภาครัฐเป็นผู้พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ เส้นทางหาดใหญ่เบตงคาดว่าจะได้เห็นการเปิดให้บริการภายในปี 2565 โดยหากสามารถดำเนินการได้จะส่งผลดีต่อพื้นที่ เพราะห่างจากชายแดนมาเลเซียประมาณ 20 กิโลเมตร (กม.)​ สามารถรองรับชาวมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเคดะห์และรัฐเปรักที่มีประชากรประมาณ 4.2 ล้านคน ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมการบินกลับมารับผู้โดยสารได้มากขึ้น

ส่วนท่าอากาศยานเบตงจะถึงจุดคุ้มทุนที่ไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากภาครัฐได้เมื่อไหร่นั้น นายปริญญา กล่าวว่า  ทย.จะประเมินว่าหลังจากนี้อีก 6 เดือน โดยจะได้ความชัดเจนว่า ท่าอากาศยานเบตงจะอยู่ได้หรือไม่ แต่เชื่อว่า จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ขณะที่ สายการบินที่มาทำการบินยังท่าอากาศยานเบตง เชื่อว่า จะถึงจุดคุ้มทุนได้แน่นอน นอกจากนี้ เบื้องต้นทราบว่า ขณะนี้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีความสนใจในการเปิดทำการบินใหม่ในเส้นทางสุวรรณภูมิ​-เบตง ปัจจุบัน ทย.ได้รับรายงานว่าสายการบินฯ อยู่ระหว่างการศึกษาจำนวนผู้โดยสารและจุดคุ้มทุน

ขณะเดียวกัน ทย.มีแผนที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางวิ่ง (รันเวย์)​ จาก 1,800 เมตร เป็น 2,500 เมตรทางขับลานจอดเครื่องบิน และส่วนประกอบอื่นๆ วงเงินรวมประมาณ 1,871 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบและขออนุมัติโครงการ เพื่อเสนอจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)​ โดยคาดว่า จะสามารถดำเนินการได้ภายในปี 2565 นี้ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายใน 3 ปี หากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ หรือขนาด 737-800 และขนาดเครื่องบิน A-320