ทำความรู้จัก ‘เศรษฐกิจผู้สูงวัย’ ในประเทศจีน

เศรฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) เป็นคำที่ใช้กับผู้สูงอายุคนที่เกิดในยุคปี 1960 โดยในปัจจุบันผู้ที่เกิดในยุค 1960 ดังกล่าว จะมีอายุจะอยู่ประมาณช่วง 60 ปีซึ่งกำลังจะกลายเป็นประชากรสูงวัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ด้วยความทันสมัยและก้าวล้ำของเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นคนแก่ที่ยังไม่แก่ หรือที่เรียกว่า Young Old

นอกจากนี้ เป็นคนในยุค Baby Boomers คือเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคนกลุ่มนี้มีอัตราการเกิดสูงมากเป็นพิเศษในช่วงดังกล่าว แต่คนกลุ่มนี้กำลังจะกลายเป็นประชากรที่จะทรงอิทธิพลมากที่สุด ไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศจีนเท่านั้นแต่หมายรวมถึงประชากรที่อยู่ทั่วในทุกมุมโลก

เศรษฐกิจผู้สูงวัยจะใช้กับผู้สูงอายุที่มีผมสีเงิน ที่บ่งบอกถึงวัยที่ผ่านประสบการณ์มากมายในการใช้ชีวิต และชีวิตการทำงาน เมื่อนำมารวมกับการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดคำใหม่ว่า เศรษฐกิจสีเงิน หรือ Silver Economy การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย และอัตราการเกิดที่ลดลงเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกด้วยเช่นกัน ทำให้จำนวนแรงงานลดลงไปด้วย

ประกอบกับวิทยาการก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้คนมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น ทำให้จำนวนสัดส่วนของผู้สูงวัยมากขึ้นตามไปอีก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดที่อยู่ในแต่ละประเทศ ดังนั้น เศรษฐกิจผู้สูงวัย (silver economy) คือ ระบบเศรษฐกิจส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ โดยผู้สูงวัยในที่นี้มักนับรวมผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

ในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนา องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 จำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกมีประมาณ 963 ล้านคน คิดเป็น 13% ของประชากรทั่วโลก คาดว่าในปี พ.ศ.2573 จะมีจำนวนประชากรสูงอายุมากถึงประมาณ 1,400 ล้านคนและจะเพิ่มขึ้นถึง 2,000 ล้านคนในปี พ.ศ.2593

ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในเอเชีย ก็ประสบกับสถานการณ์โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายลูกคนเดียว (One-child Policy) ซึ่งได้กำหนดไว้นานมาแล้ว ซึ่งทำให้จำนวนประชากรรุ่นใหม่มีจำนวนน้อยลง จนกระทั่งปัจจุบันจีนได้ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวที่เข้มงวดลงในปี 2016 แล้วแทนที่ด้วยนโยบายลูก 2 คน แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนได้

สื่อของทางการจีนรายงานว่า จีนเริ่มมีนโยบายสนับสนุนการมีลูกได้ 3 คนซึ่งมาพร้อมกับมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยยกระดับโครงสร้างประชากรของจีน ช่วยส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติในการรับมือกับประชากรวัยชรา รวมทั้งรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของทรัพยากรมนุษย์ อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนจีนไม่อยากมีลูกเพิ่มคือค่าใช้จ่ายในการส่งเสียเลี้ยงดูบุตรที่เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลายภาคส่วนมองว่า ปัญหาด้านประชากรของจีน เช่น อัตราการเกิดที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ในโลก เพราะจีนมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนในโลกจำเป็นต้องพึ่งพาจีนในการดำเนินธุรกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ซึ่งเรียกกันว่าเศรษฐกิจสูงวัย หรือ Silver Economy

ทั้งนี้ ถือเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวของกับกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงอันดับต้นๆ ในตลาดโลก Silver Economy ถือเป็นตลาดใหม่ที่จะนำมาซึ่งรายได้มหาศาลต่อเศรษฐกิจโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน ดูแลความงาม บริการการรักษาพยาบาล รวมถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการระดับพรีเมียมมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในส่วนรัฐบาลของจีนได้

  1. กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศจีน เพื่อรองรับ Silver Economy ในประเทศจีน โดยปรับเปลี่ยนนโยบายการมีลูกจากครอบครัวละ 1 คนเป็นครอบครัวละ 2 คนและ 3 คน
  2. โครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ เช่นการสื่อสาร การขนส่ง แสะการขยายอุปโภคและสาธารณูปโภค เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของความต้องการของประชากร

ในส่วนของภาคเอกชน มีการเตรียมการเพื่อรองรับการขยายตัวของ Silver Economy ดังนี้ คือ

  1. พัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมและรองรับต่อการใช้งาน
  2. พัฒนานวัตกรรมให้พร้อมเพื่อขยายตัวและรองรับต่อความต้องการใช้ของกลุ่ม Silver
  3. จำนวนและประเภทของธุรกิจ เพื่อรองรับต่อการเติบโตของจำนวนกลุ่มลูกค้าในกลุ่ม Silver ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจสีเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

ผู้เขียน: ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU