‘แมนพาวเวอร์กรุ๊ป’ เปิดเวทีร่วมปันมุมมองพื้นที่เศรษฐกิจ EEC สร้างโอกาส เดินเครื่องพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยเปิดเวทีเสวนา “EEC MOVING FORWARD สร้างโอกาส พร้อมขับเคลื่อน สู่ความยั่งยืนกางอนาคตของ EEC พลิกวิกฤตสู่โอกาส พร้อมเปิดกลยุทธ์สร้างความสำเร็จของผู้ประกอบการ EEC สู่ความยั่งยืน

สำหรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งและลงทุนของบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและการเพิ่มขีดความสามารถศักยภาพของอุตสาหกรรมไทย พร้อมการลงทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออนาคตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ต่อเนื่องมา 2 ปี ภาคอุตสาหกรรมการผลิตใน EEC อาจจะได้รับผลกระทบบ้างในช่วงแรก แต่ด้วยการปรับตัวและเตรียมแผนรองรับของหลายองค์กรทำให้สามารถบริหารจัดการให้สายการผลิตเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่กำลังฟื้นตัว นับได้ว่า EEC เป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สร้างโอกาส สร้างงานและการลงทุนที่น่าจับตาอย่างมาก

ล่าสุดจากเวทีเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “EEC MOVING FORWARD สร้างโอกาส พร้อมขับเคลื่อน สู่ความยั่งยืนโดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ขอสรุปมุมมองจากวิทยากร ประเด็นหลักของการสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้พลิกฟื้น คือ การให้ความสำคัญขององค์กรจากระดับโลกและไทย ในด้านความปลอดภัยกับวิกฤตโควิดครั้งนี้ หลายองค์กรต้องนำมาตรการดูแลพนักงานทุกด้านตั้งแต่การเดินทาง การเข้าปฏิบัติงาน การตรวจหาเชื้อโควิด การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่จะเพิ่มขึ้น

พร้อมการพัฒนาศักยภาพแรงงานโดยการอัพสกิลและรีสกิล เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ ยังมีการแสดงความคิดเห็นในมุมมองด้านการขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ติดเงื่อนไขมาตรการความปลอดภัยจึงไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งจากปัจจัยด้งกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการใน EEC ต้องปรับแผนการดำเนินงานทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจะรับมือสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต

อีกทั้ง การรับมือด้านการขาดแคลนแรงงานในบางองค์กรที่เตรียมลงทุนโดยการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในไลน์การผลิตจากเดิมในแผนลงทุนที่อาจจะหลายปีก็ปรับให้เร็วขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางด้านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตแบ่งเป็น 3 ส่วน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์

นอกจากนี้ การทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาอย่างบูรณาการ นอกจากนี้ทางด้าน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมแรงงานระดับโลก ได้ทำโครงการความร่วมมือกับภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ในการพัฒนาและฝึกงานของนักศึกษาเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดแรงงานใน EEC สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการบุคลากรอย่างต่อเนื่องตามที่ภาคอุตสาหกรรมได้แบ่งปันจะเป็นแรงงานรองรับกับอุตสาหกรรมส่งออกขณะนี้

รัฐวางโครงสร้างฯ รับการลงทุน และสร้างบรรยากาศความพร้อม เสริมทักษะคนอย่างบูรณาการ

ดร.ชลจิต วรวังโส วีรกุล ผู้ช่วยเลขาธิการด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า โครงการ อีอีซี แบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนหลักได้แก่ งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการส่วนต่อขยายของท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง งานยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรม และงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น งานด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ปัจจุบันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้าไปได้ตามเป้าหมายแล้ว สำหรับงบที่ได้รับการอนุมัติใช้ลงทุนในEEC ปี 2561-2564 ราว 1.6 ล้านล้านบาททั้งจากภาครัฐและเอกชน แบ่งเป็น โครงสร้างพื้นฐานหลัก ส่งเสริมการลงทุนโดย BOI และงบบูรณาการ นอกจากนี้ยังมีการอัดฉีดงบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Digital Smart Electronics), อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

รวมทั้ง อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics), อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่และอาหารพร้อมด้วยอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ รวม 400,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมด้วยการยกระดับชุมชนและประชาชนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนถึงระดับหมู่บ้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อหารายได้ (ตลาดสด/ อีคอมเมิร์ซ) ด้านการศึกษาและสาธารณาสุข เป็นต้น ซึ่งทุกภาคส่วนขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างบูรณาการ

สำหรับ การขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตแบ่งเป็น 3 ส่วน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์ สำหรับฮาร์ดแวร์บางอย่างต้องลงทุนเพื่อทรานส์ฟอร์เมชั่นแต่ต้องลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ทางด้านซอฟต์แวร์มองว่าเป็นการลงทุนที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์วันนี้ก้าวมาในยุคดิจิทัล ปีที่ผ่านจนถึงวันนี้โต 40% ในการนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาใช้ในการผลิต สิ่งสำคัญคือการบูรณาการสิ่งที่มีกับเทคโนฯ ที่เข้ามาให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด

ในส่วนของพีเพิลแวร์ คีย์สำคัญคือการคอนเน็กซ์ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการบูรณาการและการปรับตัว ตัวอย่างปัจจุบันหลายคนจะใช้แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับโควิดหลายตัว เพื่อนำใช้งานและตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งแอปพลิเคชั่นในการสมัครงาน ซึ่งสิ่งสำคัญในการใช้เครื่องมือที่เรียนรู้ไปด้วยกันเพราะทุกเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่กับทุกคน พอเรียนรู้แล้วก็ปรับตัว

นอกจากนี้ สำนักงานฯ มีการพัฒนาทักษะบุคลากรไปแล้วกว่า 4.75 แสนตำแหน่ง ซึ่งโจทย์คือต้องบริหารจัดการอย่างไร เพราะจะมีทักษะใหม่ๆ บางอย่างเกิดขึ้นอยู่ตลอด ในส่วนของแรงงานมีทั้งขาดและเกินซึ่งต้องทำอย่างไรให้ทั้งสองส่วนมีความสมดุลกัน  พร้อมกันนี้ เพื่อเป็นแนวทางการทำงานสำนักงานฯ ทำงานแบบคู่ขนานกันกับโครงสร้างพื้นฐานก็คือ ด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันในยุคทรานส์ฟอร์มนี้ไม่สามารถโดดไปทำคนเดียวได้

อีกทั้ง ยังมีการทำงานร่วมกันกับกระทรวงศึกษาฯ กระทรวง อว. สำหรับงบในกรบูรณาการด้านการศึกษาไม่ได้นำไปลงทุนซื้อเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรเพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงสร้างแรงจูงใจ(incentive) ให้กับสถานประกอบการบริจาคเครื่องจักรและได้รับสิทธิประโยชน์นำไปลดหย่อนภาษี ซึ่งสำนักงานฯ ได้นำโมเดลที่ทำร่วมกับภาคอุตสาหกรรม มิตซูบิชิ อีเล็คทริค และภาคการศึกษา .บูรพา ในการทำ Automation Park ที่เป็นศูนย์พัฒนาทักษะบุคลากรด้านออโตเมชั่น

พร้อมกันนี้ ยังได้จัดทำโมเดลร่วมกับผู้ประกอบจัดทำหลักสูตรเป็นคอร์สอบรมระยะสั้น โดยสำนักงานฯ สนับสนุน50% และภาคธุรกิจสนับสนุน 50% ซึ่งเงินในการจ่ายเพื่ออบรมบุคลากรยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยตามเงื่อนไข ทั้งนี้ หน้าที่ของสำนักงานฯ คือ การสร้างบรรยากาศและส่งเสริมความพร้อมให้กับผู้ประกอบ โดยการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการและการประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนมุมมองความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมจริงๆ เพื่อให้เราสามารถสนับสนุนและส่งเสริมได้ตอบโจทย์มากที่สุด

เตรียมแผนรับมือยืดหยุ่น ในทุกวิกฤต

นางสาวปิยนุช วิชิตะกุล Purchasing Director Global Business Services Purchases, P&G Asia, Middle East and Africa กล่าวว่า จากวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด ภาคอุตสาหกรรมไม่สามาถทำงานในรูปแบบ WFH ได้ดังนั้นการกำหนดมาตรการความปลอดภัยตามมาตรการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตั้งแต่การเดินทางจัดรถรับส่งที่นั่งแบบเว้นระยะ การตรวจโควิด ทั้งพนักงานของเราและคู่ค้า ในส่วนของการฉีดวัคซีนบริษัทดูแลพนักงานและครอบครัวเพื่อให้ปลอดภัย  อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญความปลอดภัยต้องมาก่อนหากบางส่วนงานต้องเลื่อนการผลิต

ทั้งนี้ จากปัญหาที่หลายองค์กรต้องเผชิญในวิกฤตโควิดการขาดแคลนแรงงาน ดังนั้นการวางแผนที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ โดยการหาแรงงานเข้ามาเติมในวิกฤตครั้งนี้เป็นเรื่องยากกับการบริหารจัดการเพราะทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ดังนั้นบริษัทจึงต้องวางแนวทางการรับมือทั้งด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในสถานการณ์นี้ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุดซึ่งทุกฝ่ายเดินหน้าไปด้วยกัน

นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยังไม่อาจประเมินได้ว่าจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน ดังนั้น จึงต้องเตรียมการบริหารจัดการและทำแผนระยะสั้น ระยะยาว จากปัจจัยข้างต้น วิกฤตด้านกำลังคนเป็นเรื่องที่เกินการควบคุมและยากในการบริหารจัดการ ซึ่งทางองค์กรจึงมีการปรับแผนที่จะนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานคน ซึ่งมองว่าหลายองค์กรมีแผนการลงทุนด้านนี้อยู่แล้ว แต่อาจจะต้องขยับการลงทุนให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ส่วนที่เข้ามาใช้ขั้นตอนการผลิตก็จะมีส่วนของการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน (Robotic Arm) แทนการใช้คนในไลน์ผลิตนี้จำนวนมากก็จะลดจำนวนคนลงมา หรือขั้นตอนการตรวจสอบ (QC) เข้ามาแทนคนซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าคน  เพื่อรับมือในอนาคตหากเกิดกรณีที่ไม่สามารถให้คนทำงานได้ พร้อมการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะทั้ง Upskill – Reskill เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรขององค์กรให้ทันการเปลี่ยนแปลง

เตรียมพร้อมป้อนแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรม

นายณรงค์ พิศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์โดยรวมของตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จากวิกฤตขาดแคลนแรงงานในขณะนี้กลุ่มธุรกิจการส่งออกมีความต้องการแรงงานสูงโดยมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจึงทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากแรงงานยังไม่ได้กลับเข้าระบบเต็มที่ รวมทั้งกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีการจ้างงานก่อนหน้ายังไม่สามารถเข้ามาทำงานตามปกติได้เพราะโควิดยังแพร่ระบาดอยู่

อย่างไรก็ตาม ทางแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ร่วมกับภาคการศึกษาทั้งระดับอาชีวะและอุดมศึกษาเข้าร่วมทวิภาคีภาคการศึกษามากขึ้นโดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นถึงแนวโน้มทิศทางความต้องการของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมพร้อมและนำนักศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานให้มากขึ้น ซึ่งในช่วงโควิดส่งผลให้นักศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถเข้ามาฝึกงานได้เพราะคำนึงด้านความปลอดภัยและการแพร่ระบาดโควิด  นอกจากนี้ มองว่าภายหลังการเปิดประเทศ ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมคาดว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าวจะเข้าระบบแรงงานอีกครั้ง

โดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้สร้างความมั่นใจและให้ข้อมูลอัปเดตอย่างต่อเนื่องกับภาคการศึกษา และยังสร้างความเชื่อมั่นในแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ที่จะสามารถป้อนงานให้กับกลุ่มนักศึกษาได้อย่างเหมาะสมสำหรับโมเดลการจ้างงานระยะสั้น 4-6 ชม. จะช่วยให้นักศึกษาได้ทำงานควบคู่กับการเรียนที่จะได้พัฒนาทักษะไปควบคู่กันก่อนเข้าสู่ระบบเต็มตัวหลังเรียนจบ

ทางด้านการดูแลและรับมือการจัดการแรงงานเอาท์ซอร์ส วิกฤตโควิดช่วง 2 ปี แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้จัดการตามมาตรการผู้ประกอบและยังมีการดูแลในส่วนแรงงานเอาท์ซอร์สที่ต้องเข้าทำงานในพื้นที่ จะมีการตรวจโควิด การฉีดวัคซีน เน้นย้ำด้านการดูแลตัวเองให้ปลอดภัย เพื่อให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ตามเงื่อนไข เพราะหากมีการติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการขาดแคลนแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกพื้นที่