อว.ขานรับนโยบายรัฐ อัพเกรดอุดมศึกษาไทย เดินหน้า ‘Digital Transcript’ ก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มสูบ

อว.ขานรับนโยบายรัฐ ผนึกกำลังหลายหน่วยงาน เดินหน้าอุดมศึกษาไทย สู่มิติใหม่ไปกับ Digital Transcript” อัพเกรดการศึกษาไทยเข้าสู่ยุค Digital Transformation อำนวยความสะดวกนิสิตนักศึกษา ลดภาระค่าใช้จ่ายงานเอกสารงบประมาณ ดันสังคมไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มสูบ

.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานพร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมให้บริการ Digital Transcript ว่าความสำเร็จของความก้าวหน้าด้านการศึกษาไทยในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้านอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนประเด็นด้านมาตรฐานและเทคนิคต่างๆ คณะทำงานกำหนดมาตรฐานการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) ร่วมผลักดันให้เกิดมาตรฐาน Digital Transcript

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกัน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการใช้งาน Digital Transcript และสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินการ จนสามารถให้บริการเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) ที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 และปีการศึกษา 2564 ที่จะถึงนี้ได้สำเร็จ

โดยในปีการศึกษา 2563 มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งสิ้นกว่า 350,000 คน มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวน39 แห่ง ที่สามารถออกเอกสาร Digital Transcript แก่ผู้สำเร็จการศึกษาได้แล้วกว่า 100,000 คน กล่าวได้ว่าจะมีDigital Transcript ออกไปสู่ตลาดแรงงานไม่ต่ำกว่า 100,000 ฉบับ ช่วยลดการใช้กระดาษ ลดภาระของหน่วยงานลดเวลาและขั้นตอนในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารสำคัญทางการศึกษา

.ดร.ศุภชัย กล่าวต่ออีกว่า ภาครัฐยังสามารถพัฒนาข้อมูลจาก Digital Transcript ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในมิติของการวิเคราะห์สถานการณ์กำลังคนในสาขาวิชาต่างๆรวมไปถึงการติดตามประเมินผล เพื่อนำไปสู่การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดงานและความต้องการของประเทศในทุกมิติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาให้เป็น Thailand Skill Portal ต่อไปในอนาคต

ด้าน .ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ Digital Transcript นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องใน 2 มิติ คือ การอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนทั้ง การขอ การรับ การจัดเก็บ การใช้งาน และการตรวจสอบ และในอนาคตเมื่อสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสามารถทำข้อมูลในรูปแบบ XML ได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะช่วยให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาต่างๆ

นอกจากนี้ ยังเป็นต้นแบบที่จะขยายผลไปสู่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งขยายไปยังสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งขยายไปยังเอกสารอื่นๆ ของภาครัฐได้อีกด้วย ซึ่งต้องขอแสดงความยินดีกับทุกมหาวิทยาลัยที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ Digital Transcript จนสำเร็จพร้อมให้บริการได้จริงในวันนี้

ขณะที่ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า โครงการ Digital Transcript เป็นก้าวแรกที่สำคัญด้านการศึกษาของไทยที่จะทำให้ประเทศมีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่มีคุณภาพสำหรับการวางแผนพัฒนาทักษะประชากรไทยให้สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศยังเป็นหนึ่งในมิติสำคัญของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย .. 2563-2565 เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน

นอกจากนี้ ยังถือเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน .. 2562 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีความพร้อมออกหนังสือราชการ เช่น ใบอนุญาตต่างๆ ในรูปแบบดิจิทัลแก่ภาคเอกชนและประชาชนได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง จัดเก็บ และพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของเอกสารราชการที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ การออกเอกสารราชการในรูปแบบดิจิทัลซึ่งมี Digital Transcript เป็นหนึ่งในเอกสารนำร่อง ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ของบริการภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ

สำหรับการจัดทำ Transcript ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) จากผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบริการนี้เรียกว่า PKI (Public Key Infrastructure) หรือ เทคโนโลยีกุญแจคู่สาธารณะ ผู้ได้รับไฟล์ Digital Transcript สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว

ด้วยโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป หรือตรวจสอบผ่านระบบควบคุมและตรวจสอบเอกสารสำคัญทางการศึกษา (Web Validation Portal) โดยไม่จำเป็นต้องทำหนังสือกลับไปสอบถามหรือขอคำยืนยันจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอีกต่อไป ช่วยลดทั้งกระบวนการและภาระของเจ้าหน้าที่ในการทำหนังสือถามตอบกันไปมา รวมทั้งลดระยะเวลาการตรวจสอบจากประมาณ 3 สัปดาห์เหลือไม่ถึง 5 นาที

โดยในระยะแรก DGA ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผลักดันให้มีการจัดทำ Digital Transcript ในรูปแบบที่ เรียกว่า “Secure Transcript” ก่อน ด้วยการลงลายมือชื่อดิจิทัลโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เอกสารถูกแก้ไขหรือปลอมแปลงได้ยาก และตรวจเช็กได้โดยง่าย ในระยะถัดไป จะร่วมกันผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำไฟล์ข้อมูลในรูปแบบ XML แนบไปกับไฟล์ Digital Transcript เรียกว่า “Smart Transcript” เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่านช่องทางดิจิทัลได้โดยอัตโนมัติ และนำไปสู่การสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศต่อไป

ผศ.ดร. ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ ประธานคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) กล่าวว่า จากแนวทางความร่วมมือของคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ Digital Transcript ได้แบ่งระยะการพัฒนา Digital Transcript ออกเป็น 2 ระดับคือ Smart Transcript และ Secure Transcript โดยจะผลักดันระดับพื้นฐานให้สำเร็จ ก่อนที่จะผลักดันการพัฒนาระดับสูงในระยะต่อไป

สำหรับมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำ Digital Transcript มีความยินดีที่จะเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการจัดทำ Digital Transcript ให้กับมหาวิทยาลัยอื่น ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้งการถ่ายทอดประสบการณ์ และการสนับสนุนด้านเทคนิคต่างๆ ด้วย เพื่อเป็นการขยายผลโครงการให้ประสบความสำเร็จในวงกว้างต่อไป

วันนี้ จึงนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการบริการดิจิทัลภาครัฐที่ผนึกกำลังร่วมกันผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศมีความพร้อมในการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) จำนวนทั้งสิ้น 39 แห่ง

1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4.มหาวิทยาลัยมหิดล5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 9.มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร 10.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 11.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13.มหาวิทยาลัยพะเยา

14.มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 15.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 16.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช17.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 18.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 19.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 20.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 21.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 22.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา23.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 24.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 25.สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา26.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

27.สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 28.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 29.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต30.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 31.มหาวิทยาลัยนครพนม 32.มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 33.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 34.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 35.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 36.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 37.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 38.วิทยาลัยชุมชนปัตตานี และ 39.มหาวิทยาลัยศรีปทุม

โดยขณะนี้ มีหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ทดสอบการใช้งานและพร้อมรับเอกสาร Digital Transcript แล้วจำนวนทั้งสิ้น16 แห่ง ได้แก่ กรมการจัดหางาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อีกทั้ง หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ GPSC บริษัท ซอฟต์สแควร์ 1999 จำกัด บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)