เปิดแผน! ทางเลี่ยงเมือง อ.ธาตุพนม ระยะทาง 7.86 กม. มูลค่า 950 ล้าน หนุนการค้า-ท่องเที่ยว รองรับพื้นที่เขต ศก.พิเศษ คาดก่อสร้างปี 66 เปิดใช้ปี 69

ทางหลวงเปิดแบบทางหลวงแนวใหม่เลี่ยงเมือง .ธาตุพนม .นครพนม ระยะทาง 7.86 กม. มูลค่าโครงการ 950 ล้าน คาดเริ่มก่อสร้างในปี 66 แล้วเสร็จในปี 68 เปิดใช้ปี 69 ยกระดับความสะดวกปลอดภัย หนุนการค้าการท่องเที่ยวเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน รองรับนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ผลักดันโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมือง .ธาตุพนม .นครพนม ถือเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงจังหวัดนครพนม ในปีงบประมาณ 2564 หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศให้ .นครพนมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านคมนาคม เพราะเป็นประตูเศรษฐกิจการค้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ตั้งบริเวณชายแดนติด สปป.ลาว เชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ทั้งนี้ ทล. โดยสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้จัดจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมือง .ธาตุพนม .นครพนม โดยแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบนทางหลวงหมายเลข 212 เลยสะพานข้ามลำน้ำก่ำ ไปจนถึงบริเวณก่อนทางโค้งบ้านดงคราม จากนั้นแนวเส้นทางจะเกาะไปตามขอบพื้นที่ของกรมชลประทานบริเวณลำน้ำก่ำ เมื่อออกจากพื้นที่บ้านดงครามแล้วจะเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

และตัดกับแนวรถไฟในอนาคตโครงการทางรถไฟสายบ้านไผ่นครพนม และทางหลวงชนบท นพ.3048 ข้ามห้วยแคน แล้วไปบรรจบจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณหลัก กม. ที่ 364 ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ .ธาตุพนม .ธาตุพนมเหนือ .ฝั่งแดง .น้ำก่ำ และต.พระกลางทุ่ง รวมระยะทางประมาณ 7.86 กิโลเมตร (กม.)

สำหรับรูปแบบโครงการออกแบบเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร แบ่งทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบร่องกว้าง 9.10 เมตร (รูปหลัก)  ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.50  เมตรและด้านนอกกว้าง 2.50 เมตรเขตทางกว้าง 60 เมตร โดยใช้วงเงินงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ 950 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ทั้งนี้ หากโครงการมีการเวนคืนที่ดินแล้วจะมีความพร้อม เพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าสามารถเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ2566 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 3 ปี หรือแล้วเสร็จในปี 2568 พร้อมเปิดให้บริการในปี 2569

ส่วนรายละเอียดงานออกแบบ ดังนี้

  1. ทางแยกบริเวณลำน้ำก่ำ กม. 1+006 จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 212 ที่จะเลี้ยวขวาเข้าสู่ .ธาตุพนม ซึ่งเป็นเส้นทางไปวัดพระธาตุพนม ออกแบบเป็นสามแยกระดับพื้น ควบคุมด้วยระบบสัญญาณไฟจราจร
  2. ทางแยกจุดสิ้นสุดโครงการ .. 8+606 จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 212 เลี้ยวซ้ายไปนครพนม เลี้ยวขวาไป.ธาตุพนม ออกแบบเป็นสามแยกระดับพื้น ควบคุมด้วยระบบสัญญาณไฟจราจร
  3. จุดกลับรถ .. 4+795 ออกแบบเป็นลักษณะวงเวียนขนาด 1 ช่องจราจร ทั้ง 2 ทิศทางอยู่ใต้โครงสร้างสะพานที่ยกระดับข้ามทางหลวงชนบท นพ.3048 โดยจุดกลับรถนี้ สามารถเชื่อมต่อไปยังถนนทางหลวงชนบท นพ.3049
  4. สะพานข้ามลำน้ำ และสะพานข้ามถนนท้องถิ่น ออกแบบเป็นสะพานคู่แยกซ้ายทางและขวาทาง ทิศทางละ 2ช่องจราจร สะพานกว้าง 12.00 เมตรต่อทิศทาง (รวมราวสะพาน) มีไหล่ทางทั้งด้านในและด้านนอก

ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้น เนื่องจาก .นครพนมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีทางหลวงหมายเลข 212 เป็นทางหลวงสายหลักสำหรับการเดินทางเข้าตัวเมือง แต่ด้วยสภาพเขตทางแคบ พื้นที่ข้างทางเป็นเขตเมือง ยากต่อการขยายช่องจราจร ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้นการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาการจราจร ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน

นอกจากนี้ ยกระดับด้านความปลอดภัยทางถนน และพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบทางหลวง  อีกทั้งยังช่วยเลี่ยงรถบรรทุกขนาดใหญ่ให้มาใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง เพื่อลดผลกระทบด้านการสั่นสะเทือนต่อพระธาตุพนมที่เป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครพนม จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งช่วงเวลาปกติและในช่วงเทศกาล

อีกทั้ง ทำให้การเดินทางเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและระหว่างภูมิภาคมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมภาคขนส่ง เศรษฐกิจท่องเที่ยว การค้าชายแดน รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)