‘การท่าเรือฯ’ เฮ! ผลการดำเนินงาน 5 ท่าเรือ รอบ 9 เดือนปีงบ 64 ‘กรุงเทพ-แหลมฉลัง’ ฟันกำไร 4.84 พันล้าน

การท่าเรือฯเผยผลการดำเนินงาน 5 ท่าเรือ รอบ 9 เดือน ปีงบ’ 64 ลั่นตู้ผ่านท่าขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ระบุท่าเรือกรุเทพท่าเรือแหลมฉบังฟันกำไร 4.84 พันล้าน ชี้สถานการณ์ดีขึ้น อานิสงค์การส่งออกเติบโตเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวผ่อนคลายล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรป

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกทท. ในการให้บริการเรือ สินค้า และตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.), ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.), ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน (ทชส.), ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.)ในช่วงระยะเวลา 9 เดือน ประจำปีงบประมาณ2564 (.. 2563-มิ.. 2564) โดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สรุปดังนี้

  • ท่าเรือกรุงเทพ เรือเทียบท่า 3,020 เที่ยว เพิ่มขึ้น 3.17% สินค้าผ่านท่า 16.199 ล้านตัน ลดลง 0.07% ตู้สินค้าผ่านท่า1.098 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 1.43%
  • ท่าเรือแหลมฉบัง เรือเทียบท่า 7,167 เที่ยว ลดลง 6.26% สินค้าผ่านท่า 66.812 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.26% ตู้สินค้าผ่านท่า6.204 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 6.94%
  • ท่าเรือเชียงแสน เรือเทียบท่า 1,777 เที่ยว ลดลง 16.29% สินค้าผ่านท่า 76,230 ตัน ลดลง 45.09%  ตู้สินค้าผ่านท่า4,269 ที.อี.ยู. ลดลง 36.49%
  • ท่าเรือเชียงของ เรือเทียบท่า 4 เที่ยว ลดลง 97.24% สินค้าผ่านท่า 24 ตัน ลดลง 99.06%
  • ท่าเรือระนอง เรือเทียบท่า 183 เที่ยว ลดลง 7.10% สินค้าผ่านท่า 94,707 ตัน เพิ่มขึ้น 20.17%  ตู้สินค้าผ่านท่า 3,044 ตู้เพิ่มขึ้น 18.26%

โดยผลการดำเนินงานของ กทท. ในรอบ 9 เดือน (.. 2563-มิ.. 2564) มีเรือเทียบท่าที่ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง รวม 10,187 เที่ยว ลดลง 3.65% สินค้าผ่านท่า 83.011 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.79% และตู้สินค้าผ่านท่า 7.301 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 6.079% คิดเป็นกำไรสุทธิ  4,849 ล้านบาท

ทั้งนี้ โดยสรุปผลการดำเนินงานของ กทท. มีทิศทางการฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะด้านการดำเนินงานให้บริการสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่ามีอัตราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาในขณะที่การให้บริการเที่ยวเรือลดลง เป็นผลมาจากขนาดเรือที่เข้าเทียบท่ามีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีการขนตู้สินค้าต่อลำเพิ่มมากขึ้น

สำหรับการเติบโตของตู้สินค้าผ่านท่าที่ปรับตัวดีขึ้น เกิดจากอัตราการส่งออกของไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักสำคัญของไทยที่เริ่มฟื้นตัว ทั้งสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การจ้างงานเติบโตอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปส่งผลให้ภาคงานบริการฟื้นตัวมากขึ้น