กสิกรไทย ลุยโครงการพิเศษฝ่าโควิด-19 เน้นเสริมสภาพคล่อง รักษาการจ้างงาน และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกค้า 

ธนาคารกสิกรไทย ยังคงลุยต่อโครงการพิเศษช่วยเหลือฝ่าวิกฤติโควิด-19 ที่ดำเนินมาปีกว่าแล้ว เน้นเพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ รักษาการจ้างงาน และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย โดยธนาคารฯ ได้ช่วยลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคล ณ มิถุนายน 2564 จำนวน 338,000 ล้านบาท และให้วงเงินสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีและร้านค้ารายย่อย ตามมาตรการของรัฐและมาตรการพิเศษของธนาคารไปแล้วกว่า 232,000 ล้านบาท พร้อมจับมือพันธมิตรชั้นนำในแต่ละธุรกิจ หวังประคับประคองให้ลูกค้าฝ่าวิกฤติโควิด-19 สู้ต่อไปให้ได้ ล่าสุดจัด “ร่วมด้วย ช่วยเปย์” บน Kmarket ด้วยการรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้ารายย่อยและวิสาหกิจชุมชนรวมกว่า 300 ร้าน พร้อมเพิ่มโอกาสการขายบน Kmarket โดยนำมาจำหน่ายให้ลูกค้าได้ซื้อสินค้าในราคาพิเศษเพียง 20 บาทเท่านั้น และเตรียมแจกคะแนนสะสม K Point ให้ลูกค้าไปแลกแทนเงินสด จ่ายบิลค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หวังช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของทุกคน

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยตระหนักถึงความกังวลและความเดือดร้อนของสังคมไทยที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนับตั้งแต่สถานการณ์แพร่ระบาดโค

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

วิด-19 นอกเหนือจากความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆ แล้ว ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะฟันเฟืองขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ และเป็นองค์กรหนึ่งในสังคม ได้ดำเนินโครงการพิเศษเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ภายใต้ศักยภาพของธนาคารอย่างเต็มที่ มุ่งเน้น 2 ด้านคือ เสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจพร้อมรักษาการจ้างงาน และแบ่งเบาภาระทางการเงิน ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น และลดการผ่อนต่องวด จำนวน 338,000 ล้านบาท ณ มิถุนายน 2564 นอกจากนี้ ธนาคารยังมีการให้วงเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีและร้านค้ารายย่อย ทั้งตามมาตรการภาครัฐ และมาตรการพิเศษเพิ่มเติมของธนาคาร ตั้งแต่การระบาดของโควิดระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน โดยธนาคารให้ความช่วยเหลือไปแล้วเป็นวงเงินกว่า 232,000 ล้านบาท

“โครงการพิเศษต่างๆ ดำเนินการผ่าน 3 กลยุทธ์ เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในระบบนิเวศน์ธุรกิจสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ตรงกับความต้องการมากที่สุด และใช้ทรัพยากรที่ธนาคารมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่

  1. ช่วยธุรกิจให้มีเงินทุนและรักษาการจ้างงาน มุ่งให้ธุรกิจมีเงินทุน เสริมสภาพคล่อง สามารถจ้างพนักงานต่อ และดูแลค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในส่วนอื่น ๆ ได้เอง โดยไม่ต้องหยุดหรือปิดกิจการ ได้แก่ โครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารฯ และเจ้าของธุรกิจ ด้วยการลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยเจ้าของธุรกิจให้มีเงินจ่ายค่าจ้างพนักงาน โดยธนาคารและเจ้าของธุรกิจช่วยกันจ่ายคนละ 50เพื่อให้พนักงานมีงานทำและมีรายได้ พร้อมช่วยลดภาระหนี้ต่างๆ โครงการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงานเอสเอ็มอี” ช่วยธุรกิจขนาดเล็กให้มีเงินทุนในการจ้างพนักงานให้มีรายได้และอยู่รอด ด้วยการสนับสนุนเงินกู้ ดอกเบี้ย 0% ไม่ต้องผ่อน ปี มีเอสเอ็มอีเข้าร่วมกว่า 1,000 บริษัท และช่วยพนักงานได้กว่า 46,000 คน และโครงการล่าสุดช่วยให้ร้านค้าขนาดเล็กเข้าถึงเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ผ่าน โครงการ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย ดอกเบี้ยต่ำ 3% ไม่ต้องมีหลักประกัน พักชำระเงินต้นนาน เดือน ซึ่งได้รับความสนใจจากร้านค้าขนาดเล็กสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยสามารถช่วยลูกค้าได้กว่า 29,200 ราย วงเงินสินเชื่อ 4,800 ล้านบาท
  2. ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกค้ารายย่อย โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น และเพื่อให้เจ้าของร้านรายเล็กๆ สามารถขายของได้คล่องขึ้น ในขณะที่ลูกค้าทั่วไปได้ใช้สินค้าและบริการต่างๆ ในราคาประหยัด เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบธุรกิจ ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย คือ โครงการ “ร่วมด้วย ช่วยเปย์” ร่วมกับฟู้ด เดลิเวอรีชั้นนำ ได้แก่ Grab และ LINE MAN และใน Kmarket โดยธนาคารได้สนับสนุนงบประมาณกว่า 250 ล้านบาท ทั้งให้เงินสนับสนุนกับร้านค้ารายย่อยกว่า 20,000 ร้าน ร้านละ 3,000 บาท เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้า
  3. ใช้ศักยภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร K PLUS, Kmarket, รวมถึงช่องทางการสื่อสาร KBank Live เพื่อเพิ่มยอดขาย และพื้นที่การขายให้กับร้านค้าต่างๆ บน Kmarket ใน K PLUS และ KBank Live ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างสะดวก โดยการจ่ายเงินผ่าน K PLUS หรือใช้คะแนนสะสม K Point แลกแทนเงินสดได้ เช่น โครงการ “รวมใจช้อปของไทย” เปิดช่องทางให้ลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารฯ ที่เป็นเจ้าของสวนผลไม้ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป ได้ระบายสินค้าผ่านช่องทาง THAILANDPOSTMART.com และแอปพลิเคชันช้อปปี้ โครงการ “รวมใจเที่ยวไทย” เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ Kmarket บน K PLUS ให้ลูกค้าได้ซื้อดีลท่องเที่ยวจากผู้ประกอบการโดยตรง ด้วยส่วนลดสูงสุด 80% ทั้งโรงแรม บริการนวดและสปา รถเช่า   
ล่าสุด ธนาคารได้ออกโครงการพิเศษเพิ่มอีก 2 โครงการเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของลูกค้า ได้แก่ 1) โครงการ “ร่วมด้วย ช่วยเปย์” บน Kmarket  โดยธนาคารรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้ารายย่อยและวิสาหกิจชุมชนรวมกว่า 300 ร้าน พร้อมเพิ่มโอกาสการขายบน Kmarket นำมาจำหน่ายให้ลูกค้าได้ซื้อสินค้าในราคาพิเศษเพียง 20 บาทเท่านั้น สามารถชำระเงินได้ทั้งเงินสดในบัญชี K PLUS และใช้คะแนน K Point แลกซื้อแทนเงินสด และ 2) โครงการ “ร่วมด้วย ช่วยแจกพ้อยท์” ให้คะแนนสะสม K Point 1,000 คะแนนฟรี ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่าเงินสด 100 บาท เพื่อให้ลูกค้านำไปแลกแทนเงินสด สำหรับจ่ายบิลสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เติมเงิน หรือแลกซื้อของกินของใช้บน Kmarket
           “ธนาคารตั้งใจช่วยเหลือสังคมและแบ่งเบาภาระความเดือดร้อนที่ไม่ใช่แค่เฉพาะในช่วงวิกฤตินี้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการฟื้นฟูธุรกิจและการใช้ชีวิตของลูกค้าภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนต่อไป” นายพัชร กล่าวสรุป
          สอบถามข้อมูลโครงการช่วยเหลือต่างๆ ของธนาคารกสิกรไทยได้ทาง LINEKB