‘ศักดิ์สยาม’ เช็คลิสต์-สแกนความพร้อมทั้งระบบ ก่อนเปิดให้บริการเสมือนจริง ‘รถไฟสายสีแดง’ 2 ส.ค.นี้

ศักดิ์สยามนั่งหัวโต๊ะประชุมเตรียมพร้อมเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงเสมือนจริง ช่วงบางซื่อรังสิต & บางซื่อตลิ่งชัน” 2 ..นี้ พร้อมเชิญนายกฯเป็นประธานพิธีเปิด สั่งเช็คลิสต์ทั้งระบบปรับแผนเข้าหัวลำโพง-Feeder-ค่าโดยสารบริหารสถานี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อรังสิต และช่วงบางซื่อตลิ่งชัน และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 4/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) วันนี้ (14 .. 2564) ว่า กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการพิจารณาชื่อที่จะขอพระราชทานนามสำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อตลิ่งชัน) และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อรังสิต) ก่อนที่จะเสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลต่อไป

ทั้งนี้ ในวันที่ 2 .. 2564 พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเสมือนจริง เพื่อทดลองการเดินรถให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการ โดยมีการเชื่อมต่อการเดินทางกับการขนส่งประเภทต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วง .. 2564 นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ แต่ละคณะ เตรียมความพร้อมก่อนการเปิดให้บริการเสมือนจริง โดยให้จัดทำเช็คลิสต์ เพื่อตรวจสอบประเด็นความพร้อมที่ได้ดำเนินการไปทั้งหมด

ขณะเดียวกัน ในวันเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเสมือนจริงนั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้งในด้านการให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน และด้านการให้บริการระบบรถไฟฟ้า ให้มีความเหมาะสม ลดผลกระทบ ทั้งด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้น และด้านความสะดวกของประชาชน บนหลักการให้มีผลกระทบต่อประชาชนผู้มาใช้บริการให้น้อยที่สุด และให้เน้นด้านการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการใช้สื่อSocial Media และสื่อสาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกสถานี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้ประชาชนรับทราบถึงข้อมูลในทุกมิติของการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงต่อไป

*** ทยอยปรับแผนเดินรถเข้าหัวลำโพง ใช้จริง 1 ..นี้ ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า จากการประชุม คณะกรรมการฯ ได้เร่งรัดดำเนินการในส่วนต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถและการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ได้มีการปรับปรุงแผนการเดินรถไฟ เพื่อปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เหลือ 22 ขบวน เริ่มปรับตารางเดินรถจำนวน 8 ขบวน สำหรับเส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และสายใต้ แบ่งเป็น ช่วงเช้า 4 ขบวน และช่วงเย็น 4 ขบวน ในวันที่ 2 .. 2564 เพื่อให้ผู้โดยสารได้มีการปรับพฤติกรรมในการเดินทาง และในวันที่ 1 .. 2564 จะใช้ตารางเดินรถเช่นเดียวกับเดือน .. 2564 แต่จะเริ่มวิ่งบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและอีสาน

ส่วนการพัฒนาสถานีหัวลำโพงนั้น เพื่อให้สามารถอนุรักษ์และคงสภาพอาคารเดิมที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมไว้ เช่นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง สถานีรถไฟหัวลำโพง ที่ทำการฝ่ายโดยสารฯ (โรงแรมราชธานีเดิม) ตึกบัญชาการรถไฟแห่งประเทศไทย ตึกพัสดุ (ตึกแดง) คณะกรรมการฯ ได้ให้แนวทางการพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในด้านพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อตอบสนองกับความต้องการและการใช้งานที่แท้จริงในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต และให้ยึดหลักการการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและพักผ่อนในระดับเมือง ด้วยการสร้างพื้นที่เมืองอย่างสร้างสรรค์ ผสานกับการสืบต่อความรู้และคุณค่าของสถานีรถไฟกรุงเทพตามแผนการพัฒนาย่านสถานีกรุงเทพต่อไป

*** ปรับเส้นทางเดินรถเชื่อมต่อการเดินทาง ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า จะดำเนินการการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อการเดินทางเพื่อให้มีรถโดยสารประจำทางหมวด 1 กรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และรถโดยสารประจำทางหมวด 4 รองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงทุกสถานี และปรับปรุงป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง เพื่อให้มีความเหมาะสมในการเชื่อมต่อการเดินทาง นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งป้ายแนะนำสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสถานีแก่ประชาชน จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ สถานีบางซ่อน และสถานีรังสิต และดำเนินการในส่วนสถานีที่เหลือต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้พิจารณาโครงการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่รังสิตเพื่อเป็น Feeder ให้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยมีโครงการนำร่อง 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สายสถานีรถไฟฟ้ารังสิตธัญญบุรีคลอง 7 สายสถานีรถไฟฟ้ารังสิต.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสายสถานีรถไฟฟ้ารังสิตแยก คปอ. (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้เป็นทางเลือกในการเดินทางเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล

โดยการทำช่องทางรถประจำทางแบบเฉพาะ (Buslane/Busway) ซึ่งจะทำให้รถประจำทางวิ่งได้อย่างต่อเนื่องลดปัญหาการจราจรติดขัด ลดการใช้พลังงาน และลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในเขตเมือง โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาถึงผลกระทบ ข้อดีข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาต่อไป

*** คอนเฟิร์ม! “สายสีแดงใช้ตั๋วร่วมปลายปี 64 ***

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า การกำหนดราคาค่าโดยสารและบัตร ได้เห็นชอบในหลักการของแนวทางการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยได้เสนอร่างข้อกำหนดการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบหมายรฟท. และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำไปประกอบการกำหนดเงื่อนไขไม่มีค่าแรกเข้าระบบในร่างสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการหรือมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอนาคต เพื่อให้ผู้ใช้บริการขนส่งทางรางที่มีการเดินทางเปลี่ยนถ่ายระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงข่ายทั้งหมด ให้มีการจัดเก็บค่าโดยสารที่มีค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าที่เดินทางเข้าระบบแรกเพียงครั้งเดียว

อีกทั้ง ได้เสนอแผนการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการบัตรโดยสารตามมาตรฐาน EMV ได้ภายในปลายปี2564 รวมทั้ง ระบบจัดเก็บค่าโดยสารภายใต้มาตรฐาน EMV ในปัจุบันสามารถรองรับการใช้งานในรถเมล์ ขสมก. และเรือโดยสาร MINE Smart Ferry ซึ่งสามารถรับชำระค่าโดยสารแบบไร้สัมผัส EMV Contactless ผ่านเครื่อง EDC โดยรองรับบัตรเดบิต บัตรเครดิต ทั้ง VISA และ MasterCard โดยได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

*** เชิญชวนเอกชนบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ ***

ขณะที่ การจ้างบริการเพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ และสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ประกอบด้วยงานทำความสะอาดและกำจัดขยะ งานรักษาความปลอดภัยและจราจร งานบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง รวมถึงพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงและทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง และงานติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ อยู่ระหว่างการดำเนินการ

นอกจากนี้ ในด้านการจัดสรรประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟท. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำประกาศเชิญชวน และแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดำเนินการสรรหาเอกชนในการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาบริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี ส่วนการดำเนินการด้านสถานีและการเชื่อมต่อสถานีเกตเวย์ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่และสถานีเพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการ โดยในสถานีรังสิต ได้เร่งรัดการก่อสร้างถนนด้านทิศตะวันตกให้แล้วเสร็จตามสัญญา และดำเนินการงานปรับปรุงสถานีเชื่อมต่อผู้โดยสารสายตะวันตกในสถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชันแล้วเสร็จ