Complete! วิ่งฉิวทางหลวงสาย 11 ‘ปางเคาะ-ปางมะโอ’ จ.แพร่ พร้อมทางลอดสี่แยกแม่แขมจุดตัด ทล.1023 รับนโยบาย ‘ศักดิ์สยาม’ บรรเทาจราจรติดขัด-แก้อุบัติเหตุอย่างยั่งยืน

เสร็จแล้ว! “ทางหลวงฯอัดงบ 579 ล้าน สร้างทางสาย 11 ตอนปางเคาะปางมะโอ .แพร่ พร้อมทางลอดสี่แยกแม่แขมจุดตัดกับ ทล.1023 สนองนโยบาย “ศักดิ์สยาม” แก้ปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน พ่วงจัดสรรงบปี 64 กว่า 55 ล้าน ก่อสร้างเพิ่มเติม แล้วเสร็จ ..นี้ ชี้ช่วยแก้จราจรติดขัดช่วงเทศกาล รับปริมาณรถ 4,700 กว่าคัน/วัน หนุนการขนส่งโลจิสติกส์

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า สำนักก่อสร้างก่อสร้างทางที่ 2 ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปางเด่นชัย) ตอนปางเคาะปางมะโอ ระหว่าง กม.408+100-กม.413+800 ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) และปรับปรุงบริเวณจุดตัดทางแยกทางหลวงหมายเลข 11 ที่ กม.413+411 ตัดทางหลวงหมายเลข 1023 (แพร่วังชิ้น) ที่ กม.56+627 (สี่แยกแม่แขม) ในพื้นที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 579 ล้านบาท นอกจากนี้ ในปี 2564 ทล. ได้ใช้งบประมาณปี 2564 จำนวน 55 ล้านบาท เพื่อการก่อสร้างเพิ่มเติมที่ กม.406+700-408+100 โดยในขณะนี้ มีผลงานก่อสร้างปัจจุบัน 17.32% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายใน .. 2564 ซึ่งโครงการดังกล่าวนั้น ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น วงเงินประมาณ 634 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางหลวงสายดังกล่าว มีศูนย์สร้างทางลำปางเป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้าง มีลักษณะงานแบ่งเป็น โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 ระหว่าง กม.409+400-กม.413+800 ก่อสร้างตามมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร และ 6 ช่องจราจร ผิวทางแบบแอสฟัลต์คอนกรีตระหว่าง กม.408+100-กม.412+900 และผิวทางแบบปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตระหว่าง กม.412+900-413+800 กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.5 เมตร มีเกาะกลางแบบคอนกรีตแบริเออร์สลับกับเกาะกลางแบบ Raised Median และมีทางขนาน (Service Road) ระหว่าง กม. 412+900-กม.413+800 ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดเส้นทาง

อีกทั้ง โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1023 ระหว่าง กม.55+900-57+612.500 ระยะทาง 1.7 กม. โดยออกแบบให้เป็นทางลอดใต้สะพานทางหลวงหมายเลข 11 ก่อสร้างตามมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ผิวทางแบบปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีต กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 เมตร  มีเกาะกลางแบบคอนกรีตแบริเออร์ และทางขนาน (Service Road) ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดเส้นทาง

นอกจากนี้ ยังรวมงานก่อสร้างสะพาน 3 แห่งบนทางหลวงหมายเลข 11 ที่ กม.413+441 ขนาด 6 ช่องจราจร  มีความยาว 40 เมตร และบนทางหลวงหมายเลข 1023 ที่ กม.56+100 และที่ กม.57+278 ขนาด 4 ช่องจราจร มีความยาว 30 เมตร มีเกาะบางแบบคอนกรีตแบริเออร์ พร้อมปรับปรุงบริเวณจุดตัดทางแยกทางหลวงแผ่นดินที่ กม. 413+411 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 1023 ที่ กม.56+627

นายสราวุธ กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเพิ่มความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยในการเดินทาง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร ลักษณะถนนสองเส้นตัดกับบริเวณสี่แยกทางเขาที่ลาดชันและคดโค้ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และการจราจรติดขัดในช่วงวันหยุดยาวโดยปริมาณการจราจรปี 2563 เฉลี่ย 4,779 คัน/วัน ประกอบกับมีรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่และรถโดยสารใช้บริการมากขึ้น เป็นเหตุให้สภาพผิวทางได้รับความเสียหายก่อนครบอายุบริการแม้จะบำรุงรักษาสม่ำเสมอ รัฐบาลจึงมอบให้กรมทางหลวงกำหนดแผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการปรับปรุงโครงข่ายทางหลวง ให้มีความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงสนับสนุนการขนส่งสินค้าด้วย

ขณะเดียวกัน โครงการดังกล่าวช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้เส้นทางอย่างยั่งยืน ยกระดับมาตรฐานทางหลวงตามความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกและปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคและระหว่างจังหวัด เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านการคมนาคมขนส่งและบริการที่ดี ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เส้นทางทั้งในปัจจุบันและอนาคต