‘ศักดิ์สยาม’ นั่งหัวโต๊ะถกอัปเดท ‘ตั๋วร่วม’ ประเดิมเชื่อมรถไฟฟ้า ‘สีเขียว-น้ำเงิน-ม่วง’ เล็งประชุมอีกครั้ง ก.พ.นี้

ศักดิ์สยามนั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม แบ่งแผนดำเนินการ 2 ระยะ เร่งใช้บัตรข้ามระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวน้ำเงินม่วงพร้อมวางเป้าใช้บัตร EMV “สายสีน้ำเงินม่วงเฟสแรก 50% ..64 เต็มรูปแบบ ..65 สั่ง สนข.ดูความซ้ำซ้อนการลงทุน ก่อนเสนอที่ประชุมอีกครั้งเดือนหน้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 1/2564 วันนี้ (28 .. 2564) ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ให้เร่งจัดทำระบบให้บัตรโดยสารที่ประชาชนมีอยู่ในปัจจุบัน สามารถใช้บัตรข้ามระบบได้ ซึ่งเมื่อสามารถใช้บัตรข้ามระบบระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน และส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระบบสูงขึ้น ทั้งนี้ ให้ รฟม. สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้ระบบดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว

2.ระยะยาว มีการพิจรณาความชัดเจนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contacless (Europay Mastercard and Visa) มาใช้กับระบบตั๋วร่วม โดย รฟม. มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันการเงินที่มีระบบ EMV ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารกรุงไทย ที่แจ้งว่ามีความพร้อมที่จะลงทุนในระบ EMV ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้บริการของธนาคารกรุงไทย สำหรับสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน โดยใน .. 2564 จะใช้ได้ประมาณ 50% และจะใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายใน .. 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ที่ประชุม คนต. ยังมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม 2 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐสนทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร โดยจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการออกตั๋วร่วม มาตรฐานเทคโนโลยีระบบงาน มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และมาตรฐานการดำเนินงานของระบบงาน และ 2.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ โดยจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการจัดเก็บค่าธรรมเนียม มาตรฐานการจัดสรรรายได้มาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการ

ขณะเดียวกัน ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมบูรณาการความร่วมมือและความต้องการของประชาชน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนระบบตั๋วร่วมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดและการพัฒนาระบบการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพและคำนึงถึงข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาล

โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาถึงความซ้ำซ้อนของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วมทั้งหมดที่กำลังพัฒนาอยู่ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยให้พิจารณาถึงการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เข้ามาร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมได้ รวมถึงการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติในรูปแบบ M-Flow ตลอดจนดำเนินการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป ภายในเดือนหน้า (.. 2564)