‘ทางหลวงฯ’ ลุ้น ‘ก.ทรัพยากรฯ’ ไฟเขียวเข้าพื้นที่-ออกแบบขยายถนนพื้นที่มรดกโลก ทล.348 ‘เขาช่องตะโก’ แก้รถติดหนึบ พร้อมเชื่อมอีสาน-ตะวันออก

ทางหลวงฯลุ้นต้นปี 64 “กระทรวงทรัพยากรฯไฟเขียวเข้าพื้นที่สำรวจออกแบบขยายถนน ทล.348 ช่วงพื้นที่มรดกโลกเขาช่องตะโก” 3 กม. หวังช่วยลดอุบัติเหตุ บรรเทาตราจรติดหนึบช่วงเทศกาลฯขนส่งสินค้า สนองนโยบายศักดิ์สยามพร้อมเชื่อมเส้นทางอีสานตะวันออก ลุยศึกษาพ่วงจัดทำ EIA ตลอดเส้นทาง 48 กม. คาดสตาร์ทตอกเข็มปี 68 แล้วเสร็จภายในปี 71

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ทล.ได้เสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 348 และหมายเลข 3486 เชื่อมโยง .อรัญประเทศ.นางรอง ระยะทางประมาณ48 กิโลเมตร (กม.) รวมถึงช่วงที่ผ่านพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ (รวมบริเวณเขาช่องตะโก) ซึ่งได้ตัดผ่านสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญ คือ พื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ บริเวณเขาช่องตะโก ระยะทางประมาณ 3 กม. เป็นช่วงรอยต่อขึ้นลงเขา ระหว่าง .บุรีรัมย์ และ .สระแก้ว โดยจะดำเนินการขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจรไปกลับ เป็น 4 ช่องจราจรไปกลับตลอดเส้นทาง ตามนโยบายและการผลักดันของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมคมนาคม ในการอำนวยความสะดวก และสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง ทั้งยังสนับสนุนการขนส่งสินค้าอีกด้วย ประกอบกับเส้นทางดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่มีความสำคัญเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และภาคตะวันออก

สำหรับโครงการดังกล่าวนั้น ทล.ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา และได้ประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ทล.ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมทั้งศึกษารูปแบบในการขยายเส้นดังกล่าว ซึ่งจะใช้ต้นแบบ (โมเดล) ของทางหลวงหมายเลข 304 สาย .กบินทร์บุรี.ปักธงชัย (ทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (กอม.) ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้ทล.เข้าพื้นที่ไปสำรวจและศึกษาความเหมาะสม ซึ่งคาดว่า จะมีมติเห็นชอบให้ ทล.เข้าพื้นที่ในช่วงต้นปี 2564 หรือรวมใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากที่ ทล.ได้เสนอเรื่องไปตั้งแต่ต้นปี 2563

ขณะที่ ในส่วนของ ทล. นั้น อยู่ระหว่างการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เพื่อนำมาดำเนินการจ้างสำรวจและออกแบบรายละเอียด พร้อมศึกษา EIA ตลอดเส้นทาง ระยะทาง 48 กม. รวมกับเส้นทางโครงการช่วงที่ตัดผ่านเขาช่องตะโก ระยะทาง 3 กม. ทั้งนี้ หาก ทล.ได้รับการอนุมัติให้เข้าพื้นที่ รวมถึงได้รับการจัดสรรงบประมาณในการศึกษาความเหมาะสมโครงการแล้วนั้น จะเสนอรายงานไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาอนุมัติแนวทาง ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นแนวทางที่มีลักษณะคล้ายกับการดำเนินการก่อสร้างสาย 304 เชื่อมผืนป่าฯ โดยเมื่อศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ ทล.จะเสนอโครงการฯ ไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างภายในปี 2567 ส่วนจะใช้งบประมาณเท่าไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่ที่ผลการศึกษาโครงการฯ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างในปี 2568 และแล้วเสร็จภายในปี 2571

สำหรับเส้นทางดังกล่าว ในตอนนี้ ยังเป็นอุปสรรคหลักต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้า เนื่องจากเส้นทางช่วงที่ผ่านเขาช่องตะโก มีขนาด 2 ช่องจราจร คันทางแคบ ลาดชัน คดเคี้ยว รวมถึงมีปริมาณจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง รวมถึง ทล.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้เส้นทางนายสราวุธ กล่าว

นายสราวุธ กล่าวต่ออีกว่า ทล.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและคำนึงถึงการพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงคมนาคมบนพื้นฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 348 ช่วงช่องเขาตะโก เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดการสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทาง ทั้งยังช่วยเสริมศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของประเทศ รวมถึงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ ภายใต้การพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงคมนาคมควบคู่ไปกับใส่ใจและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รายงานข่าวจาก ทล. แจ้งว่า ในส่วนของค่าก่อสร้างโครงการฯ นั้น ยากที่จะประมาณการณ์ในขณะนี้ เนื่องจากการศึกษารูปแบบการก่อสร้าง จะขึ้นอยู่กับมาตรการที่ต้องดำเนินการ เพื่อป้องกันผลกระทบกับมรดกโลก (ทางเชื่อมผืนป่า/ทางสัตว์ข้ามหรือลอด) เช่น สาย 304 ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ระยะทางประมาณ 3 กม. ค่าก่อสร้างประมาณ 1,320 ล้านบาท ฯลฯ สำหรับเส้นทาง ทล.348 เป็นเส้นทางเชื่อม .อรัญประเทศ .สระแก้ว.นางรอง .บุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 140 กม. ช่วงที่ตัดผ่านเขาช่องตะโก ระยะทางประมาณ 3 กม. เส้นทางตัดผ่านพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ บริเวณเขาช่องตะโก ปัจจุบันเป็นทาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 6 เมตร ไม่มีไหล่ทาง ความลาดชันเฉลี่ย 6% ส่วนปริมาณการจราจรที่สัญจรผ่านเขาช่องตะโก ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 9-13 .. 2563 (5 วัน) ที่ผ่านมา พบว่า มีปริมาณการจราจรรวม39,650 คัน แบ่งเป็น ขาเข้าจำนวน 21,788 คัน และขาออก จำนวน 17,862 คัน

ด้านรายงานข่าวจากสำนักงานทางหลวงที่ 10 นครราชสีมา แขวงทางหลวงสระแก้ว (วัฒนานคร) ระบุว่า ปริมาณการจราจรต่อวันในรอบปี 2563 ทั้งขาเข้าออก โดย .. 2563 มีปริมาณการจราจรรวมจำนวน 7,355 คัน แบ่งเป็น รถยนต์4 ล้อ จำนวน 6,175 คัน รถบรรทุก 6-10 ล้อ จำนวน 536 คัน รถโดยสายขนาดใหญ่ จำนวน 94 คัน และรถพ่วงรถกึ่งพ่วง จำนวน 551 คัน ขณะที่ .. 2563 มีปริมาณการจราจรรวมจำนวน 7,672 คัน แบ่งเป็น รถยนต์ 4 ล้อ จำนวน 6,291 คัน รถบรรทุก 6-10 ล้อ จำนวน 581 คัน รถโดยสายขนาดใหญ่จำนวน 97 คัน และรถพ่วงรถกึ่งพ่วง จำนวน 703 คันในส่วนของ .. 2563 (10 วัน) มีปริมาณการจราจรรวมจำนวน 6,858 คัน แบ่งเป็น รถยนต์ 4 ล้อ จำนวน 5,441 คัน รถบรรทุก 6-10 ล้อ จำนวน 561 คัน รถโดยสายขนาดใหญ่จำนวน 100 คัน และรถพ่วงรถกึ่งพ่วง จำนวน 755 คัน