นอสตร้า โลจิสติกส์ ชู TMS โซลูชัน!!เผย 3เทรนด์ขนส่งปี 64

 นอสตร้า โลจิสติกส์ ตอกย้ำภาพผู้นำเทคโนโลยีโซลูชันสำหรับภาคธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร (One-Stop Logistics IT solution) มุ่งออกแบบและพัฒนาโซลูชันเพื่อเติมเต็มกระบวนการทำงานทุกภาคส่วนของระบบขนส่งและโลจิสติกส์ (Total Transportation & Logistics System) เสริมธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทย เผยเทรนด์ ขนส่งและโลจิสติกส์โลก สบช่องชูโซลูชันเรือธง ระบบบริหารงานขนส่งและจัดการเส้นทาง (TMS) ตั้งแต่การจัดการรถกับสินค้าและเส้นทางจัดส่ง ติดตามงานขนส่งแบบ Real-time ด้วย Web app และ Mobile app เสริมการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยกล้องวิดีโอออนไลน์ MDVR อุปกรณ์เทเลเมติกส์ (Telematics) ที่เพิ่มความสมบูรณ์แบบให้แก่การบริหารติดตามงานขนส่ง มุ่งสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้งาน เสริมแกร่งธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ยุคดิจิทัล สนับสนุนธุรกิจขนส่งในยุคออนไลน์ แนะผู้ประกอบการเห็นความสำคัญการลงทุนเทคโนโลยี เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ใช้บริการ ตอบรับเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลังผู้บริโภคไทยปรับตัวสู่ดิจิทัลมากขึ้น

 นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า เทรนด์ขนส่งและ โลจิสติกส์โลกในปี 2564 พบ เทรนด์เด่น ๆ  คือ 1. ซัพพลายเชนหันมาใช้บริการเอาท์ซอร์สมากขึ้น โดยการกระจายสินค้าและธุรกิจโลจิสติกส์มีมากถึง 42% 2. การลงทุนเทคโนโลยี โดย อับดับแรกคือ Data Analysis 41% IoT 39% และ Cloud Computing 39% และเทรนด์ที่ 3. การกำหนดขอบเขตของการมองเห็นและการเข้าถึงข้อมูล สอดคล้องเทรนด์ในประเทศไทยพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ใช้ออนไลน์แพลตฟอร์มมากขึ้น โดยเทรนด์ที่เห็นชัดเจนคือ เทรนด์ที่ช่วยให้การขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย

 1.          ออนไลน์แพลตฟอร์มคือจุดขายสำคัญ แทบจะทุกช่องทางเชื่อมต่อ Point of sale และ Digital payment รวมถึง Delivery โดยบริษัทที่ให้บริการขนส่งหลากหลายราย 2.          เทคโนโลยีการขนส่งขั้นสูง รองรับการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์และอีคอมเมิร์ซ  ผู้ประกอบการมีการลงทุนเทคโนโลยี เพื่อสื่อสารและซื้อขายกับผู้บริโภคโดยตรง โดยบริหารการจัดส่งด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์ ระบบจองรับ-ส่งพัสดุล่วงหน้า การเก็บเงินปลายทาง COD และ e-payment 3.          แพลตฟอร์ม Sharing-economy ในการขนส่งและบริการจัดส่ง โดยการส่งพัสดุ มีปริมาณมากขึ้น ถี่ขึ้น ธุรกิจขนส่งปรับตัว เช่น สร้างศูนย์กระจายสินค้าและเพิ่มรถขนส่งให้มากขึ้น เพื่อให้ส่งเร็วขึ้น ร่วมมือกับพันธมิตรขนส่งด้วยกัน รวมทั้งหา Online platform เพื่อเพิ่มช่องทางการรับงานขนส่ง ฯลฯและ 4.    การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่และผู้ประกอบการข้ามอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการขนส่งรายใหม่ เช่น จากเป็นผู้ผลิต ขยายมาเป็นผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้เล่นรายใหม่จากอุตสาหกรรมอื่น ทำให้ตลาดยิ่งแข่งขันรุนแรง ต้องการเทคโนโลยีสร้างความแตกต่าง และต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์

 นอสตร้า โลจิสติกส์ ตั้งเป้าเป็นผู้นำเทคโนโลยีโซลูชันสำหรับภาคธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร (One-Stop Logistics IT solution) ออกแบบ Logistics Platform เพื่อใช้วางแผนติดตาม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งแบบเรียลไทม์ ที่ให้บริการลูกค้าได้ครบทุกขั้นตอนจบใน NOSTRA LOGISTICS Analytics Platform แพลตฟอร์มเดียว โดยมุ่งออกแบบและพัฒนาโซลูชันเพื่อเติมเต็มกระบวนการทำงานทุกภาคส่วนของระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยเสริมธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทย โดยได้พัฒนาโซลูชันใหม่ ระบบบริหารงานขนส่งและจัดการเส้นทาง (TMS) และต่อยอด NOSTRA LOGISTICS ePOD ด้วยการเพิ่มระบบ Cash Van Solution เพื่อเติมเต็มบริการให้ครบวงจร” นางวรินทร อธิบาย

 ระบบบริหารงานขนส่งและจัดการเส้นทาง หรือ Transportation Management System (TMSช่วยวางแผน จัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ในระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การจัดการจับคู่รถกับสินค้าและเส้นทางจัดส่ง ติดตามงานขนส่งแบบ Real-time ด้วย Web app และ Mobile app เสริมการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยกล้องวิดีโอออนไลน์ MDVR อุปกรณ์เทเลเมติกส์ (Telematics) โดย TMS ถูกพัฒนาเป็นโซลูชันเรือธงสำหรับระบบบริหารจัดการขนส่งอัตโนมัติ สามารถเชื่อมต่อข้อมูลคำสั่งขาย การส่งมอบสินค้า และการวางแผนเส้นทางการวิ่งรถ รวมถึงลำดับจุดจอดในการจัดส่งสินค้า (Routing & Sequence) เพื่อช่วยในการจัดรถกับสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (Resource Optimization) ตลอดจนการเชื่อมต่อกับระบบติดตาม GPS เพื่อบริหารงานขนส่งได้อย่างสมบูรณ์

 อย่างไรก็ตาม ด้านการปรับตัวของธุรกิจขนส่ง เพื่อรักษาความรวดเร็วในการขนส่งและหาโอกาสในการลดระยะเวลาในการจัดส่ง จะเห็นว่าแต่ละผู้ประกอบการทั้งศูนย์คัดแยกและรถขนส่งจำนวนมาก ต้องการเพิ่มความสามารถในการจัดส่งที่เร็วขึ้น การลดราคาค่าขนส่ง ด้วยการเป็นพันธมิตรกับออนไลน์แพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งพัสดุ พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด้วยกันเอง ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการใช้รถของผู้ประกอบการ ลดต้นทุนค่าขนส่งและลดการวิ่งรถเปล่า ด้านการลงทุนเทคโนโลยี ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันมาให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และลงทุนเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ใช้บริการ เช่น การเริ่มติดตั้งระบบ GPS ในรถขนส่งทุกคันเพื่อให้ตรวจสอบสถานะพัสดุแบบเรียลไทม์ (Real-time)  การสร้างระบบจองรับ-ส่งพัสดุล่วงหน้า รวมถึงการใช้ระบบเก็บเงินปลายทาง (Cash on delivery) โดยทั้งหมดล้วนเป็นการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ไม่เพียงเอาชนะใจผู้บริโภค แต่ยังรวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้อยู่เหนือคู่แข่งที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่