ธนาคารทุกสถาบัน ขานรับนโยบายรัฐ ผุดมาตรการเยี่ยวยาลูกค้าทุกระดับ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ที่ขยายวงกว้างมากขึ้นไปทั่วทั้งโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น ซึ่งปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกขยับสูงขึ้นทะลุแสนรายแล้ว และยังมีแนวโน้มที่สถานการณ์จะไม่คลี่คลายได้โดยง่าย ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ออกมาทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 0.25-0.50% จากประมาณการเดิมที่ 2.7% ในระยะที่เหลือของปีนี้ ตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ และแม้ทางเลือกการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ยาวิเศษที่พลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วในจังหวะไม่ปกติเช่นนี้ แต่ก็คงช่วยบรรเทาภาระต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนลงได้บางส่วน สำหรับทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้น คาดว่าหากสถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 ดีขึ้น อาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและจีดีพีกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง

สำหรับในช่วงที่ผ่านมา ธปท.มีความห่วงใยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 จึงขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับ และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยให้สถาบันการเงินดูแลและพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านเงินทุนและสภาพคล่องแก่ลูกหนี้เพื่อให้ประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่นให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ลดหรือยกเว้นดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ยังให้มีการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ปรับลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของยอดคงค้าง รวมถึง ผ่อนผันเพดานวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 63

ดังนั้น เมื่อทาง ธปท. ขอมา บรรดาสถาบันการเงินสถาบันการเงินต่างๆ จึงออกมาคานรับเรื่องดังกล่าว และได้ ประกาศช่วยลูกหนี้รายใหญ่ และเอสเอ็มอี รวมถึงลูกหนี้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ เพื่อผ่อนคลายผลกระทบระยะสั้น พร้อมเพิ่มมาตรการช่วยเหลือ หากสถานการณ์มีความยืดเยื้อ

ออมสิน : ทั้งนี้ ทางออมสิน สนองนโยบายรัฐบาลบรรเทาผลกระทบจากไวรัส Covid-19 พร้อมดูแลลูกค้ารายย่อย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ดอกเบี้ย MRR และ MOR เหลือ 6.495% ต่อปี ขณะเดียวกันได้บรรเทาผลกระทบผู้ฝากเงิน คงอัตราดอกเบี้ยสลากออมสินทุกประเภท รวมถึงเงินฝากเผื่อเรียกสำหรับลูกค้ารายย่อย โดยลดดอกเบี้ยเงินฝาก 0.25% เฉพาะกลุ่มเงินฝากประจำ และเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขณะที่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการขายส่ง ทางธนาคารได้ทำการลดดอกเบี้ยให้สูงสุด 20% ของดอกเบี้ยจ่าย พักเงินต้นไม่เกิน 2 ปี และขยายเวลาชำระหนี้เงินต้น ส่วนดอกเบี้ยนั้นให้ชำระไม่น้อยกว่า 50% ตามความรุนแรงของผลกระทบ

พร้อมกันนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีมาตรการเยียวยาด้วยการชดเชยรายได้แก่แรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม และได้รับผลกระทบ โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนต่อต่อกัน (เมษายน – มิถุนายน 2563) ซึ่งทางธนาคารออมสินได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทย นอกจากนี้ยังได้จัดทำ “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน” และ “โครงการสินเชื่อพิเศษเพิ่มเติม” ขึ้นมา เพื่อช่วยคนที่มีอาชีพอิสระ ให้กู้ 10,000 บาท ปลอดชำระ 6 เดือนแรก ดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 2 ปี ไม่ต้องมีหลักประกัน ขณะที่ส่วนผู้มีรายได้ประจำ ให้กู้ไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 3 ปี โดยได้เริ่มเปิดลงทะเบียนวันที่ 15 เมษายน ทางเว็บไซต์ธนาคารออมสินเท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ ธนาคารออมสินเปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

ขณะเดียวกัน ออมสินร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้ง “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19” ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งสามารถยื่นกู้ได้วงเงินไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 2% เป็นระยะเวลา 2 ปี โดย บสย. พร้อมเป็นผู้ค้ำประกันสิน

กสิกรไทย : ขณะที่ ธนาคารกสิกรไทย ได้เริ่มเข้าช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น 12 เดือน และให้จ่ายเพียงดอกเบี้ยรายเดือน บวกด้วยอีก 20% ของดอกเบี้ยที่ต้องชำระ เพื่อนำไปหักหนี้เงินต้น ซึ่งจะทำให้หนี้เงินต้นของลูกค้าลดลง และเมื่อครบ 12 เดือน โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือกลุ่มโรงแรม กลุ่มร้านอาหาร กลุ่มขนส่ง กลุ่มแฟชั่นและเครื่องประดับ

จากนั้นทางกสิกรไทยยังได้มอบกรมธรรม์ประกันชีวิต COVID-19 ให้กับลูกค้า K PLUS ฟรี!! คุ้มครอง 30 วัน วงเงินสูงสุด 100,000 บาท และคุ้มครองชดเชยรายได้ 1,000 บาทต่อวัน สูงสุด 15 วัน โดยลูกค้า K PLUS สามารถรับสิทธิ์เพียงลงทะเบียนผ่าน LINE KBank Live ซึ่งนับเป็นมาตรการมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับลูกค้าธนาคารในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อย ลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งได้มีลูกค้าให้ความสนใจมากกว่า 12.4 ล้านราย

นอกจากนี้ยังได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีภาระการชำระหนี้รถยนต์ โดยลูกค้าธุรกิจ ประเภทเงินกู้ สามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยนานสูงสุด 12 เดือน และลูกค้าธุรกิจที่วงเงินหมุนเวียน ประเภทตั๋ว สามารถขยายตั๋วได้ไม่เกิน 12 เดือน ส่วนลูกค้าธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน และสำหรับลูกค้ารายย่อย ประเภทสินเชื่อบ้านและสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีหลักประกัน สามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุด 12 เดือน ขณะที่ลูกค้ารายย่อยประเภทสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย ถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563 และลูกค้ารายย่อยประเภทสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุด 12เดือน

กรุงศรีอยุธยา : สำหรับธนาคารกรุงศรี ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อย และลูกค้าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยให้ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้รวมถึงมาตรการการพักชำระหนี้ และการปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล สามารถพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน พร้อมปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด ขณะที่ลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย สามารถพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน และปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด (แล้วแต่กรณี) ส่วนลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สามารถพักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน และปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด ขณะเดียวกันธนาคารยังให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าและตอบสนองทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของภาครัฐ โดยลดดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทแบบมีระยะเวลา (MLR) ลง 0.12% เหลือ 6.23% ต่อปี และเงินกู้ประเภทเงินเบิกเกิน บัญชี (MOR) ลง 0.25% เหลือ 6.70% ต่อปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอัตราใหม่ดังกล่าวได้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ลูกค้ากรุงศรี คอนซูมเมอร์ (สำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19) สามารถพักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้น สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ลดอัตราการผ่อนชำระจาก 10% เป็น 5% และสำหรับลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล ลดอัตราการผ่อนชำระจาก 5% เป็น 3% หรือปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนเป็นราย

ส่วนทางด้านกรุงศรี ออโต้ ผู้ให้บริการธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ได้ขยายมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ พร้อมให้บริการคำปรึกษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ และสาขา กรุงศรี ออโต้ ทั่วประเทศ ทั้งนี้มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ทุกประเภทเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยให้พักชำระหนี้ได้สูงสุด 6 เดือน และปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดลง สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม โดยสามารถแจ้งความประสงค์ตามเงื่อนไขที่กรุงศรี ออโต้ กำหนด ได้ทันที ทั้งนี้ ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ได้ดำเนินการรับเรื่องเพื่อพิจารณาไปแล้วกว่า 166,000 ราย

ทีเอ็มบีและธนชาต : สำหรับ ธนาคารทีเอ็มบีและธนชาต ช่วงก่อนหน้าได้ออกมาตรการ “ตั้งหลัก” ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 ทั้งลูกค้ารายใหญ่-รายย่อย ในการพักชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 รอบบัญชี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย อย่างสินเชื่อบ้าน ลูกค้าทั้ง 2 ธนาคาร ขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี ลูกค้าสามารถสมัครร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ก.ค. 2563 ขณะที่ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ธนชาต DRIVE ลูกค้าที่ค้างชำระหนี้ไม่เกิน 60 วัน ขอพักชำระหนี้ได้เพิ่มสูงสุด 60 วัน และขยายเวลาผ่อนชำระได้ไม่เกิน 96 งวด ส่วนลูกค้าบัตรเครดิต- บัตรกดเงินสด ลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทีเอ็มบี ขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี โดยดอกเบี้ยยังเดินปกติ แต่ไม่ถูกบันทึกเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ด้านลูกค้าธนชาต

สำหรับบัตรเครดิตขอลดยอดชำระขั้นต่ำได้ จาก 10% เหลือ 5% นานสูงสุด 3 รอบบัญชี ส่วนลูกค้าบัตรกดเงินสดขอลดยอดชำระขั้นต่ำได้ จาก 3% เหลือ 1 % นานสูงสุด 3 รอบบัญชี และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ลูกค้าทั้ง 2 ธนาคาร และสินเชื่อบุคคล ลูกค้าทั้ง 2 ธนาคารที่ได้รับผลกระทบ ขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้เพิ่มขึ้นอีก 3 รอบบัญชี หรือจนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน