เฮงเค็ลประกาศเป้าหมายในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนประเทศไทย

เพื่อสานต่อความมุ่งมั่นและความก้าวหน้าในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เฮงเค็ลได้เสริมพันธกิจไปอีกขั้นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้มากขึ้นด้วยการขยายกรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์ โดยเฮงเค็ลจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิล นำกลับมาใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้* ให้ได้ 100% ภายในปี 2568 ในขณะเดียวกันก็ตั้งเป้าที่จะใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลให้ได้ 35% สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในยุโรป

เฮงเค็ลให้ความสำคัญกับเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนมานานหลายทศวรรษ บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทออกแบบมาเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ลดการใช้วัตถุดิบให้น้อยที่สุดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนการดำเนินงานที่แบ่งเป็น ช่วงในห่วงโซ่คุณค่าหมุนเวียน กรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์ใหม่ของเฮงเค็ลจะใช้แนวทางแบบองค์รวม โดยตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม

การส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับภาคธุรกิจ ผู้บริโภค และภาครัฐ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ โดยการนำกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิลวัสดุให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัดนี้ได้ แนวคิดนี้เป็นหัวใจสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนของเฮงเค็ล เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าเพื่อใช้วัสดุจากแหล่งที่มีความยั่งยืนในบรรจุภัณฑ์ที่มีดีไซน์ชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างครบวงจร สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนและโลกของเรา” แคทริน เมนเจส รองประธานบริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล และประธานสภาความยั่งยืนของเฮงเค็ล กล่าว

 *ไม่รวมผลิตภัณฑ์กาวที่สารตกค้างอาจทำให้ไม่สามารถรีไซเคิลได้

 ขยายกรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์เพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

กรอบการทำงานใหม่ของเฮงเค็ลเพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน สะท้อนการดำเนินงานใน 3 ช่วงหลักในห่วงโซ่คุณค่าหมุนเวียน โดยแต่ละช่วงมีการดำเนินงานดังนี้

ใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่ยั่งยืน เฮงเค็ลมุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุที่ยั่งยืนในบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ทั้งในแง่ของการใช้วัสดุรีไซเคิลโดยเฉพาะพลาสติก และการใช้วัสดุหมุนเวียน เช่น กระดาษและกระดาษลูกฟูก

บรรจุภัณฑ์ที่มีดีไซน์ชาญฉลาด เนื่องจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์มักมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น ในแง่ความแข็งแรงหรือรูปลักษณ์ จึงจำเป็นต้องมีการดีไซน์ที่ชาญฉลาดเพื่อทดแทนการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับเรื่องพื้นฐานการออกแบบให้มากขึ้นเพื่อทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนนับตั้งแต่เริ่มต้น การออกแบบที่ชาญฉลาดนั้นยังรวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ใหม่ เฮงเค็ลจึงมองหานวัตกรรมโซลูชั่นต่างๆ ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เช่น บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งและลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็สานต่อความพยามที่จะลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ลงและใช้บรรจุภัณฑ์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

การทำงานอย่างครบวงจร เฮงเค็ลมุ่งมั่นทำให้บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้หลังจากใช้แล้ว เช่น ร่วมกับพันธมิตรในการส่งเสริมระบบที่เหมาะสำหรับการรีไซเคิล บริษัทจะขยายโซลูชั่นใหม่ๆ เช่น สินค้าแบบเติมเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ได้ เฮงเค็ลยังทำงานเชิงรุกเพื่อสรรหาวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่กลับคืนสู่ธรรมชาติ เช่น วัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามมาตรฐานการย่อยสลายระดับนานาชาติ

ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านบรรจุภัณฑ์

ความก้าวหน้าด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อองค์กรต่างๆ มีการทำงานร่วมกันตลอดทั้งอุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่า ดังนั้นเฮงเค็ลจึงร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และสนับสนุนโครงสร้างการรีไซเคิลที่ดีขึ้น เช่น บริษัทได้ร่วมกับ New Plastics Economy ซึ่งเป็นโครงการที่นำโดยมูลนิธิเอลเลน แมคอาเธอร์ ที่นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันคิดและออกแบบอนาคตของพลาสติกใหม่ รวมทั้งสร้างการเคลื่อนไหวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เฮงเค็ลยังร่วมกับพลาสติกแบงค์ ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสังคมที่มุ่งหยุดปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรและสร้างโอกาสให้คนยากจนด้วยการเก็บขยะพลาสติกจากสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมาแลกเป็นเงินหรือบริการต่างๆ เพื่อนำพลาสติกเหล่านั้นไปรีไซเคิลต่อไป